2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

40 2554) โดยคณะกรรมการ ก.พ.ค. จะมีอำนาจในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่ ง กรณีที่ข้าราชการ ถูกคำสั่งลงโทษทางวินัย โดยสามารถที่จะมีอำนาจในการพิจารณายกอุทธรณ์ ยกเลิกคำสั่งลงโทษ ทางวินัย หรือลดระดับโทษ เป็นสถานโทษในอัตราโทษที่ เบาลงได้ แต่หากเป็นกรณีผู้ อุทธรณ์ กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ จะลดโทษให้ต่ำกว่าปลดออกจากราชการไม่ได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมไม่สามารถที่จะเพิ่มโทษแก่ผู้อุทธรณ์ได้ เว้นแต่ได้รับแจ้ง จากสำนักนักงาน ก.พ. ตามมาตรา 104 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้มีการเพิ่มโทษ และหากคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมได้พิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นว่า การกระทำดังกล่าวมีเหตุอันควรเพิ่ มโทษก็สามารถที่ จะเพิ่ มโทษแก่ผู้ อุทธรณ์ได้ ตามข้อ 86 ของกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2551 2.7.3 ขั้นตอนการอุทธรณ์ทางวินัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 การอุทธรณ์ของข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ 2561 นั้น ได้ถูกกำลังไว้ในมาตรา 101 ซึ่ง ได้ วางหลักไว้ว่า ผู้ซึ่งถูกลงโทษตามมาตรา 98 มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จะฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ถูกลงโทษโดยไม่ต้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วย การบริหารงานบุคคลของผู้ถูกลงโทษนั้น หรือจะดำเนินการอุทธรณ์ดุลยพินิจ ในการกำหนดโทษ ของผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกลงโทษ นั้นก่อนก็ได้ มาตรา 101 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญข้างต้นนั้น จะมีการเปิดโอกาส ให้กับผู้ ถูกสั่ งลงโทษในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ไม่ว่ าจะเป็นข้าราชการพลเรื อนสามัญ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ย่อมมีสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองว่า คำสั่งลงโทษทางวินัยที่ตนได้รับ สืบเนื่องมาจากการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น ไม่ชอบด้วยกระบวนการดำเนินการสอบสวนหรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏ มิได้เป็นไปตามการสอบสวน ย่อมสามารถใช้สิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ ส่วนการอุทธรณ์ดุลยพินิจในการกำหนดโทษตาม กฎหมายการบริหารงานบุคคลนั้น ๆ ก็จะต้องพิจารณาแยกไปตามแต่ละประเภทของข้าราชการ กล่าวคือ ในส่วนของข้าราชการพลเรือนสามัญ หากถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยอันเนื่องมาจากการชี้มูล ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแล้ว ข้าราชการผู้ถูกคำสั่งลงโทษ ย่อมมีสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ในชั้นต้นต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เพื่อพิจารณา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3