2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
41 ลดระดับโทษได้ แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานความผิดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติได้มีมติชี้มูลความผิดว่าเป็นการกระทำผิดฐานทุจริตได้ หากเป็นกรณีของพนักงานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การใช้สิทธิในการอุทธรณ์ คำสั่งของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จะต้องยื่นต่ออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพนักงาน ประจำจังหวัด แต่ถึงอย่างไรก็ตามคณะกรรมการพนักงานเทศบาลประจำจังหวัดก็ไม่สามารถ เปลี่ ยนแปลงฐานความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริ ตแห่งชาติ ได้ อาจเพียงแต่สามารถใช้ดุลยพินิจในการลดระดับโทษได้เท่านั้น ทั้งนี้ในส่วนของการดำเนินการกับ พนักงานเทศบาล สำนักงาน ก.ท. ยังได้มีการแจ้งเวียนแนวทางปฏิบัติ ให้ประธานกรรมการ พนักงานเทศบาลประจำจังหวัดทุกจังหวัดได้รับทราบ และถือปฏิบัติ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ท. ที่ มท 0809.5/ว 22 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ว่ากรณีของพนักงานเทศบาล หากคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติชี้มูลความผิดฐานทุจริต แต่ถ้าหากคณะกรรมการ พนักงานเทศบาลประจำจังหวัดพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่ครบองค์ประกอบของการกระทำผิดวินัย ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ก็มีอำนาจในการใช้ดุลยพินิจในการลกระดับโทษได้เท่านั้น จากโทษ ไล่ออกจากราชเป็นปลดออกจากราชการ โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานความผิดได้ ประเด็นข้างต้นนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าแม้กฎหมายจะให้อำนาจผู้บังคับบัญชาหรือองค์กร ที่ มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ในการปรับลดระดับโทษ แต่หากคำนึงถึ งผลกระทบที่ ข้าราชการ หรือพนักงานเทศบาลได้รับจากการชี้ มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาตินั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของตัวเจ้าหน้าที่อย่างแน่นอน เพราะหาก ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้ ถูกชี้ มูลความผิดทางวินัย ฐานทุจริตต่อหน้าที่ ราชการ หรือฐานความผิ ดอื่น ที่เกี่ยวข้องแล้ว จะต้องถูกสั่งลงโทษโดยให้ไล่ออกจากราชการ หรือปลดออกจากราชการอย่างเป็น แน่แท้ และหากมีการอุทธรณ์คำสั่ งต่อองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาลปกครอง หากภายหลังองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าข้อสนับสนุน ข้อเท็จจริงที่ออกคำสั่งลงโทษ ทางวินัยตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้มีมตินั้น ไม่เหมาะสม พยานหลั กฐานไม่ เพียงพอ หรื อกระบวนการดำเนินการไต่ สวนของคณะกรรมการป้ องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไม่ชอบด้วยขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญ และมีคำสั่งให้เพิกถอน การลงโทษทางวินัย ระยะเวลาตั้งแต่ที่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นถูกสั่งลงโทษ ก็จะไม่สามารถ ย้อนกลับคืนไปได้ใหม่อีก และระหว่างที่ถูกสั่งลงโทษอาจจะต้องรับภาระหรือเกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย จึงเห็นว่า เมื่อกฎหมายได้เปิดโอการให้มีการใช้สิทธิเพื่อทบทวนมติของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในชั้นของการพิจารณาภายในฝ่ายปกครองก่อนออกคำสั่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3