2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
43 2. เป็นหลักการกระทำขององค์กรของรัฐที่จะต้องกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ เป็นหลักการที่ผูกพันองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารในการที่จะต้องผูกพันกัน กล่าวคือ ฝ่ายปกครองจะต้องดำเนินการในทางปกครองได้เท่าที่กฎหมายให้อำนาจซึ่งหมายถึง สามารถกระทำ การต่าง ๆ ได้เท่าที่ประชาชนระบุให้อำนาจ เพราะฝ่ายนิติบัญญัติถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชน โดยมีหน้าที่ในการตรากฎหมาย ฉะนั้นแล้ว พระราชบัญญัติ ระเบียบกฎหมายต่าง ๆ ที่ออกมาจาก รัฐสภา จึงเปรียบเสมือนว่าเป็นการออกมาจากประชาชน 3. มีหลักประกันสิทธิในกระบวนการพิจารณาในชั้นเจ้าหน้าที่และศาล กล่าวคือ หลักการ ดังกล่าวเป็นหลักการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการพิจารณาในชั้นใด มีการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาสามารถโต้แย้งพยานหลักฐาน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ 4. มีหลักประกันสิทธิ ของปัจเจกบุคคลในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม กล่าวคือ เป็นหลักการที่ออกแบบกระบวนการดำเนินการพิจารณาคดีอย่างรอบด้าน เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหา จากการใช้อำนาจในทางปกครอง ตลอดจนมีการกำหนดผลของความผูกพันเด็ดขาดในส่วนการ ถือปฏิบัติตามคำพิพากษาไว้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงแน่นอนในระบบกฎหมายอีกด้วย ดังนั้น หลักนิติรัฐเป็นหลักการที่กฎหมายเป็นใหญ่ คนบังคับใช้กฎหมายเป็นรองโดยหลักการ ดังกล่าวมีหลักการที่สำคัญในทางปกครอง เพราะเป็นหลักการที่บอกว่า ฝ่ายปกครองจะต้องปฏิบัติ ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น หากไม่มีกฎหมายเขียนไว้ว่าสามารถกระทำได้ ฝ่ายปกครอง ก็ ไม่สามารถที่ จะกระทำได้ ซึ่ งผลของหลักการนิติรั ฐนั้ น ทำให้บุคคลไม่ว่ าจะอยู่ ในสถานะใด ก็จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน (บรรหาญ จงเจริญประเสริฐ, 2557) หลักนิติธรรม พจนานุ กรฉบั บราชบัณฑิ ตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ ให้ นิ ยามความหมายของคำว่า “หลักนิติธรรม” ไว้ว่า คือหลักพื้นฐานแห่งกฎหมายที่บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย อย่างเท่าเทียมกัน โดยหลักนิติธรรมเป็นหลักการที่สามารถสื่อให้เห็นถึงลักษณะของการปกครองว่า เป็นหลักที่ มุ่ งเน้นให้มีการปกครองในลักษณะที่ กฎหมายจะต้องให้ความเคารพต่อปัจเจกชน และกฎหมายจะต้องมีความโปร่งใสเป็นกลาง ไม่เอียงเอนหรือเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มเฉพาะกับบุคคลใด บุคคลหนึ่ง รวมถึงเป็นหลักนิติธรรมเป็นหลักการที่มุ่งการเคารพในสิทธิของบุคคล และยังเป็น หลักการที่สามารถควบคุมตรวจสอบได้อีกด้วย ประกอบกับหลักนิติธรรมนั้น เป็นหลักการพื้นฐาน ของการใช้อำนาจรัฐ เพราะหลักดังกล่าวนี้เป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ หลักการคุ้มครอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3