2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

44 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค รวมถึงเป็นหลักการที่มีการ แบ่งแยกการใช้อำนาจรัฐซึ่งกันและกัน ทั้งมีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐระหว่างหน่วยงานด้วยกัน อันเป็นไปตามหลักการป้องกันการขัดกันระหว่ างประโยชน์ส่ วนตนและประโยชน์ส่ วนรวม (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2565) หลักนิติธรรมเป็นหลักการทางกฎหมายที่ มีความสำคัญเช่นเดียวกันในการปกครอง และบังคับใช้กฎหมายภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นหลักประกันความยุติธรรม และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน (อรรถพล ใหญ่สว่าง, 2557) ประกอบกับหลักนิติธรรม ตามตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามไว้ว่า คือหลักการพื้นฐาน แห่งกฎหมายที่บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน 2.9 หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักความชอบด้วยกฎหมายนั้ น เป็นหลักการที่ ฝ่ายปกครองในฐานะผู้ ใช้อำนาจรัฐ จะต้องยึดถือปฏิบัติ เพราะอำนาจรัฐหรืออำนาจของฝ่ายปกครองมีลักษณะพิเศษ ก ล่าวคือ มีอำนาจเหนือกว่าเอกชน ฉะนั้นการใช้อำนาจดังกล่าวจึงจะต้องมีขอบเขตที่พอเหมาะ และต้องมี ฐานอำนาจในการอนุญาตให้ฝ่ายปกครองสามารถกระทำการได้ โดยผู้ที่อนุญาตก็จะต้องมาจาก ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจ กล่าวคือประชาชนหรือรัฐสภาในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติในการออกกฎหมาย แทนประชาชน เพื่ อให้ฝ่ายปกครองนำมาปฏิบัติโดยหลักดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการที่ว่า ฝ่ายปกครองย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และหลักไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ กล่าวคือ องค์กรฝ่ายปกครองจะกระทำการใด ๆ ได้ก็เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายมอบอำนาจ ให้ฝ่ายปกครองในการกระทำการจึงสามารถที่จะกระทำการนั้น ๆ ได้ 2.9.1 หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ภายใต้บทบัญญัติรั ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 5 บัญญัติ ไว้ ว่ า “รั ฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสู งสุ ดของประเทศ บทบัญญัติ ใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้น เป็นอันใช้บังคับ มิได้เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้น หรือวินิจฉัยกรณีนั้ น ไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” จากบทบัญญัติดังกล่าวได้แสดงออกถึงหลักความเป็นกฎหมาย สูงสุดของรัฐธรรมนูญอยู่ 2 ประการใหญ่ คือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3