2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
45 1. การจัดทำหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องกระทำได้ยากกว่ากฎหมายธรรมดา โดยกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีแก้ไขเพิ่มเติมไว้ ในมาตรา 255 และมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับอื่นใดจะขัดหรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญมิได้ จึงต้องมีการคุ้มครองความสูงสุด คือ มีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับ รัฐธรรมนูญ ดังนี้ 1) องค์กรที่มีอำนาจทำหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ดังนี้ องค์ตุลาการ คือ ในประเทศสหรัฐอเมริกา คือศาลยุติธรรม ในประเทศเยอรมัน คือศาลรัฐธรรมนูญ ในประเทศฝรั่งเศสคือ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ในประเทศออสเตรเลียคือ รัฐสภา และในประเทศไทย คือศาลรัฐธรรมนูญ 2) วิธีการควบคุม ระบบควบคุม คือ การควบคุมแบบรูปธรรมเป็นการควบคุมที่มีกฎหมายบังคับใช้ และเห็นว่า กฎหมายนั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ การควบคุมแบบนามธรรม เป็นการควบคุม ในกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายมาบังคับใช้เกิดผลกระทบต่อตนเอง ระยะเวลาการควบคุม คือ การควบคุมก่อนการประกาศใช้ เป็นกฎหมาย กับการควบคุมหลังจากกฎหมายประกาศใช้บังคับ ขอบเขตของการควบคุม คือ การควบคุมกระบวนการตราเป็นการควบคุม แบบนามธรรมและการควบคุมก่อนการประกาศใช้เป็นกฎหมาย การควบคุมเนื้อหาของกฎหมาย เป็นการควบคุมระบบรูปธรรม นามธรรม ก่อนการประกาศแบะหลังการประกาศใช้เป็นกฎหมาย ดังนั้น ประเทศไทยภายใต้รัฐธรรมนูญูแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ควบคุมทั้งในด้าน รูปธรรมและนามธรรม ควบคุมก่อนการประกาศใช้ เป็นกฎหมาย และหลั งการประกาศใช้ เป็นกฎหมาย และควบคุมทั้ งกระบวนการตรากฎหมายและควบคุมด้านเนื้ อหาของกฎหมาย เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 2.9.2 ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย หลัก ลำดับศักดิ์ของกฎหมายเป็นหลักแนวคิดที่มีการกำหนดลำดับชั้นระหว่างกฎหมาย ต่าง ๆ ขึ้นมา เพราะต้องการที่จะกำหนดระบุถึงสถานะของผู้ที่มีอำนาจในการตรากฎหมาย เพื่อที่จะ ส่งผลให้เกิดการจัดลำดับศักดิ์หรือฐานะความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการพิจารณาตีความว่า กฎหมายที่ มีลำดับศักดิ์ที่ต่ำกว่า ซึ่ งเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้ นต่ำกว่า จะออกมาขัดหรือแย้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3