2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
46 ต่ อกฎหมายที่ มีลำดับศักดิ์ สู งกว่ าไม่ได้ โดยกฎหมายที่ มีศั กดิ์ที่ ต่ ำกว่ า ลำดั บชั้ นที่ต่ ำกว่า หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นกฎหมายลูก การตรากฎหมายหรือการออกนั้น จะต้องออกหรือมีการ ตราออกมาโดยจะต้องมีข้อความที่สอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ที่ให้อำนาจกฎหมายลูกไว้ หรือเป็นฐานของอำนาจในการออกกฎหมายลูก หากบัญญัติออกมา มีข้อความขัดแย้งหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายแม่บทแล้ว จะมีผลให้กฎหมายลูกที่มีศักดิ์ต่ำกว่า ใช้บังคับมิได้ ดังนั้น ศักดิ์ของกฎหมายจึงหมายถึง ลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมายที่มี ความสำคัญสูงกว่าหรือต่ำกว่ากัน โดยการจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยนั้น ตามความเห็นของ ชยธร ไชยวิเศษ สามารถจัดแบ่งลำดับชั้นออกเป็น 4 ประเภท (ชยธร ไชยวิเศษ, 2561) ดังนี้ 1. กฎหมายแม่บทที่มีศักดิ์สถานะลำดับสูงสุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญ เป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดถึงสถานะความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดของรัฐ ครอบคุลมถึง การใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ประกอบกับ หลักการในรัฐธรรมนูญจะระบุและกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า บทบัญญัติอื่นใด จะแย้งหรือขัด บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ อันเป็นการหมายความว่า สถานะของรัฐธรรมนูญย่อมอยู่เหนือ บทบัญญัติของกฎหมายทั้งปวง เพราะเนื่องจากรัฐธรรมนูญจะวางหลักเกณฑ์การปกครองรวมถึง กำหนดโครงสร้างในการบริหารประเทศของราชการในทุกฝ่ายไว้ ทั้งกำหนดสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ของประชาชนไว้ เช่นเดียวกัน จึ งจำเป็นต้องมีหลักประกันความมั่ นคงและหลักความมั่ นคง ของกฎหมายสูงสุด 2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด รวมถึง ประมวลกฎหมาย บรรดากฎหมายเหล่านี้ เป็นกฎหมายที่ รัฐสภาตราขึ้ น มีสถานะลำดับศักดิ์ รองจากรัฐธรรมนูญ เว้นแต่พระราชกำหนดที่จะมีการตราหรือออกโดยฝ่ายบริหาร แต่พระราชกำหนด ดังกล่าวก็จะต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาอยู่ดี ซึ่งกฎหมายระดับดังกล่าวนี้เป็นบทบัญญัติ ที่ กำหนดรายละเอียดในแต่ละเรื่ องเพื่ อให้เกิดความชัดเจนและสมบูรณ์มากขึ้ น โดยเป็นการ ขยายอธิบายหลักการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่าง เพราะหลักการของรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการ บัญญัติในส่วนของหลักกฎหมายกว้าง ๆ มิได้ระบุเฉพาะขยายความเจาะจง จึงจำเป็นต้องมีการ ตรากฎหมายที่ระบุให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ประกอบกับ การออกกฎหมายในระดับนี้ หากมีการแก้ไข หรื อยกเลิก เปลี่ ยนแปลงย่อมเป็นการสะดวกมากกว่ าการที่ จะต้องไปแก้ ไขในรั ฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นมีกระบวนการตราและแก้ไขที่ยากกว่ากฎหมายลำดับรอง เพราะถือว่า เป็นกฎหมายสูงสุดที่คุ้มครองในหลักการบริหารประเทศ และคุ้มครองสิทธิของประชาชนเป็นหลัก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3