2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
47 รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ในประเทศ และกฎหมายในระดับนี้ การตราอออกมาจะต้องเป็นการสอดคบ้อง ในหลักการตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ และเนื้อหาในพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด จะต้องไม่ออกมาเป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 3. พระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวง .ในทางกฎหมายนั้ น ย่อมถือว่ามิได้ เป็น บทบัญญัติในระดับของกฎหมาย เพราะการที่จะเป็นกฎหมายได้นั้น จะต้องเป็นบทบัญญัติที่อยู่ใน ระดับพระราชบัญญัติ ซึ่งมีการตราโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ แต่พระราชกฤษฎีกานั้น เป็นกฎหมาย ของฝ่ายบริหารที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดรายละเอียด ในเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้นตามที่พระราชบัญญัติหนดไว้ ส่วนกฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรี ตราขึ้ นผ่านคณะรัฐมนตรี เพื่ อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรื อพระราชกำหนด ซึ่งจะเห็นว่ากฎในลำดับนี้ จะเป็นกฎลำดับรองลงมาจากกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ และการออก กฎดังกล่าวก็จะต้องสอดคล้องหรือมีที่มาของฐานอำนาจซึ่งก็คือ กฎหมายระดับพระราชบัญญัติด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงนั้น จะออกมาขัดแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูง กว่าไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่มีฐานอำนาจให้กระทำการได้ 4. ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ข้อบัญญัติ ประกาศคำสั่ง คำสั่งหน่วยงานราชการ หรือรวมถึง หนังสือเวียนแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ เป็นการออกระเบียบหรือกฎขึ้นมาเพื่อที่จะดำเนินการภายใน ฝ่ายปกครองเท่านั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นกฎหมาย และการออกกฎในลำดับนี้ ก็สามารถที่จะอ้าง ฐานอำนาจจากพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ซึ่งเป็นกฎหมาย หรือระเบียบหลักได้ โดยที่ระเบียบ หรือแนวทางรวมถึงกฎต่าง ๆ ในลำดับชั้นนี้ การออกจะเป็นการ ออกมาเพื่ อเน้นวิธีการปฏิบัติที่ ก่อให้ เกิดความรวดเร็วในทางปฏิบัติ และใช้บังคับเพียงแต่ เฉพาะหน่วยงานหรือพื้นที่ของตนเองเท่านั้น และอำนาจของผู้ที่ออกก็จะเป็นเพียงแค่หัวหน้า ส่วนราชการนั้น ๆ ดังนั้น หลักการของทฤษฎีลำดับศักดิ์ของกฎหมาย เห็นได้ว่ามีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายอื่ นใดในลำดับรองจะมาขัดแย้งมิได้ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นหลักประกันความมั่ นคง ของระบอบการปกครอง และเป็นหลักประกันสิทธิของประชาชนที่จะมิให้ถูกละเมดสิทธิ ซึ่งการ ออกกฎหมายเพื่อจะอธิบายเฉพาะนั้น ก็จะต้องมีการออกกฎหมายลูกซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติต่าง ๆ ขึ้ นมาเพื่ อเป็นการขยายอธิบายขยายความ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งการออกกฎหมายลำดับรอง รวมถึงประกาศ หนังสือแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ นั้น ตาม หลักการนี้ในทางปกครองหรือทางกฎหมาย การออกกฎหมายลำดับรองย่อมจะสามารถออกได้หากว่า มีกฎหมายแม่บทหรื อมีฐานอำนาจของกฎหมายในระดับที่ สู งกว่ าให้ออก ซึ่ งหากกฎหมาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3