2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

51 ของชุมชนท้องถิ่ นในการพัฒนา การพึ่ งตนเองและการจัดการตนเองเพื่ อสร้างสังคมคุณภาพ 4) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 2 ประเด็นเป้าหมาย คือ ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวมตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และภาครัฐมีขนาดที่เล็กลง พร้อมปรับตัวให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ แผนพัฒนาฉบับที่ 13 ดังกล่าว ยังมีความเชื่อมโยงกับเป้าหมาย แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติใน 4 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 17 ความเสมอภาคและหลักประกัน ทางสังคม ประเด็นที่ 20 การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ ประเด็นที่ 21 การต่อต้าน การทุจริตและประพฤติมิชอบ ประเด็นที่ 22 กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 2.12 มติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ชี้มูลความผิด ทางวินัยตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดคดีหมายเลขดำที่ อบ.215/2558 คดีหมายเลขแดงที่ อบ 94/2563 ที่มีคำวินิจฉัยว่า มติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ได้ ชี้ มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงกับข้าราชการ ว่ากระทำการทุจริตต่อหน้าที่ ราชการนั้น มติดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้คำสั่งลงโทษทางวินัยที่ออกโดยอาศัยมติการชี้มูลความผิด ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งสรุป คำพิพากษาในคดีดังกล่าวนี้ได้ดังนี้ คดีดังกล่าวมีนาย ว. เป็นผู้ฟ้องคดี กระทรวงการคลัง ที่ 1 ปลัดกระทรวงการคลัง ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี และมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นผู้ร้อง โดยคดีนี้ ผู้ร้องได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ 116/2551 คดีหมายเลขแดงที่ 1055/2555 ของศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง) กรณีที่ผู้ฟ้องคดีเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ (นักบริหาร 10 ระดับ 10) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวน ของผู้ร้อง ได้แจ้งข้อกล่าวหาว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำการทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีเมื่อครั้ งผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักกฎหมาย กับผู้ถูกกล่าวหารายอื่น โดยได้ร่วมกันพิจารณากรณีการรับโอนหุ้นของบริ ษัท ช. โดยเห็นว่า เป็นการรับโอนหุ้นจากการอุปการะโดยหน้าที่จรรยาและจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียม จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ต่อมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ผู้ ร้อง) ได้มีมติชี้ มูลความผิดว่า การกระทำของผู้ฟ้องคดีกับพวกมีมูลความผิดวินัย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3