2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

57 และในการตรวจสอบ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ก็จะมีการตรวจสอบ จากพยานเอกสารหรือพยานบุคคลต่าง ๆ อย่างครบถ้วน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงในการชี้ มูล ความผิด แต่ก่อนที่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดจะมีคำสั่งลงโทษทางวินัยนั้น มาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้กำหนดถึ งการให้สิทธิ ในการขอทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติไว้ หากผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดมีพยานหลักฐานใหม่ อันแสดงได้ว่าข้าราชการรายดังกล่าว มิได้มีการกระทำผิดทางวินัย ตามที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติชี้มูลความผิด หรือกระทำความผิดในฐานที่แตกต่างจากการ ถู กกล่ าวหา ผู้ บั งคั บบั ญชาของข้ าราชการรายดั งกล่ าวสามารถมี หนั งสื อพร้ อมเอกสาร และพยานหลักฐานถึ งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่ อขอให้ พิจารณาทบทวนมตินั้ นได้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ ได้รับเรื่ องจาก คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยการเสนอพยานเอกสารหลักฐานใหม่นั้ น จะต้องเป็น พยานเอกสารที่มิได้ปรากฏอยู่ในรายงานการไต่สวน ตามแนวทางของหนังสือสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ที่ ปช 0026/ว 0028 ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 โดยเมื่อมีการขอทบทวนมติดังกล่าวแล้ว ระหว่างการยื่นพิจารณาขอทบทวนมตินั้น ข้าราชการผู้ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยยังคงสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ตามปกติ การพิจารณา สั่งลงโทษอีกครั้งจะสามารถดำเนินการได้ เมื่อได้รับแจ้งผลการพิจารณามติตามนัยมาตรา 98 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 2.13.3 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 การบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนสามัญนั้น จะต้องดำเนินการให้เป็นไป ตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน ธรรมเนียม นโยบายหรือมติคณะรัฐมนตรี โดยข้าราชการนั้นนอกจาก จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดแล้ว จะต้องอยู่ในระเบียบวินัยของข้าราชการอีกด้วย โดยของ วินัยข้าราชการนั้น หมายถึง กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่วางหลักขึ้นมาในการควบคุมให้ข้าราชการปฏิบัติ หน้าที่ และเป็นการกำหนดความประพฤติแบบแผนของข้าราชการ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ อยู่ในความเรียบร้อย เหมาะสม กับการที่ได้ชื่อว่าเป็นข้าของแผ่นดิน ประกอบกับข้าราชการนั้นมี หน้าที่ในการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่เพื่อ ประ โ ยชน์ ของ ส่ วนร วม ดั งนั้ น จึ งต้ องมี หลั กปร ะกั นคว ามมั่ นคง ในอาชี พร า ช กา ร การให้หลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ ในการที่จะไม่ถูกกลั่นแกล้งให้ออกจากราชการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3