2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
58 โดยไม่ มี ความผิ ด หรื อหลั กความเป็ นธรรม อั นสอดคล้ องกั บหลั กนิ ติ รั ฐ หลั กนิ ติ ธรรม ในการที่จะป้องกันมิให้ผู้บังคับบัญชากระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิ ข้าราชการผู้ ใต้บังคับบัญชา อันอยู่ภายในภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำ ทางปกครอง (นุชนาถ ประทีปธีรานันต์, 2554) มาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนด ถึงการรักษาวินัยว่าข้าราชการพลเรือนสามัญ จะต้องกระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กฎหมาย กำหนดไว้ ซึ่ งบทบัญญัติในเรื่องของวินัยราชการจะถูกกำหนดอยู่ ในหมวด 6 ตั้ งแต่มาตรา 80 ถึงมาตรา 89 ซึ่งหากข้าราชการรายใดกระทำผิดวินัย พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก็จะกำหนด ขั้นตอนและวิธีการ ในการดำเนินการทางวินัยไว้ ซึ่ งอยู่ ในหมวดที่ 7 ในเรื่องของการดำเนินการทางวินัยไว้ โดยหากมีการกล่าวหาตัวข้าราชการคนใดคนหนึ่งขึ้นมา ในเบื้องต้นก็จะต้องมีการรายงานเรื่องร้องเรียนดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาซึ่ งมีอำนาจสั่งบรรจุ และแต่งตั้ ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบประเด็นเรื่ องร้องเรียนดังกล่าวว่ามีมูลความจริงหรือไม่ ตามมาตรา 90 ประกอบมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และหากผลการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า ข้าราชการรายดังกล่าวมีการกระทำผิดวินัยจริง ก็จะมีการ ตั้ งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยขึ้นมาอีกคณะเพื่อตรวจสอบและข้อเท็จจริงอย่างละเอียด ซึ่ งคณะกรรมการสอบสวนทางวิ นั ยก็ จะต้ องปฏิ บั ติ และดำเนิ นการตามกรอบระยะเวลา ที่กฎหมายกำหนด ทั้งกระบวนการสอบสวนจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ว่าจะในเรื่อง ของการแจ้งข้อกล่าวหา การเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา การรับฟังพยานเอกสาร พยานบุคคลต่าง ๆ รวมถึงสรุปผลการพิจารณาเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง เพื่อดำเนินการลงโทษทางวินัย ซึ่ งถูกบัญญัติอยู่ ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 การสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชานั้น ก็จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยโทษทางวินัยที่ข้าราชการผู้กระทำผิดวินัยจะได้รับนั้นมีด้วยกันทั้งหมด 5 ระดับ อันเป็นไปตามที่ พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่งอยู่ในมาตรา 88 และโทษที่จะได้รับนั้นก็จะขึ้นอยู่กับ สภาพความร้ายแรงแห่งกรณีพฤติการณ์ในการกระทำผิด เมื่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้ที่ กระทำผิดวินัยได้ดำเนินการลงโทษข้าราชการรายดังกล่าวแล้ว ตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก็มีการเปิดโอกาสให้ข้าราชการผู้ ที่ ถูกคำสั่ งลงโทษทางวินัย สามารถโต้แย้ง หรืออุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยได้อีก หากเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือโทษที่ได้รับไม่เหมาะสมกับการกระทำ อันเป็นไปตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3