2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

59 ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยการเปิดโอกาสให้ข้าราชการผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยสามารถโต้งแย้ง หรืออุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยได้นั้น ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับข้าราชการผู้ที่ถูกลงโทษ ทางวินัยแสดงความบริสุทธิ์อีกชั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานทั่วไปของประชาชนที่ควรจะได้รับ โดยแม้ว่าผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยจะเป็นข้าราชการ แต่เนื่องจากข้าราชการก็คือประชาชนคนหนึ่ง ที่ เพียงแค่สวมหมวกเพิ่มอีกหนึ่ งใบ จึงถือว่าการจะแทรกแซงสิทธิขั้นพื้นฐานหรือกระทำการ กระทบสิทธิใด ๆ จะต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมเท่านั้น การจำกัดสิทธิ เสรีภาพ อันจะกระทบต่อตัวของบุคคลไม่สามารถทำได้เว้นแต่บทบัญญัติของกฎหมายสามารถให้ทำได้ (ชญาภัทร แก้วมหากาฬ, 2560) จึงเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีความเกี่ยวข้อง และยึดโยงกับรั ฐธรรมนูญแห่ งราชอาณาจั กรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่ าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 อย่างชัดเจน ในเรื่องของการใช้สิทธิเพื่อขอทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่ งเป็นเรื่องที่ผู้ วิจัยศึกษา เพราะตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติวินิจฉัยแล้วว่า ข้าราชการพลเรือนผู้นั้น กระทำผิดวินัยในฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ฐานกระทำ ความผิ ดต่ อตำแหน่ งหน้ าที่ ราชการ ฐานกระทำความผิ ด ต่อตำแหน่งหน้าที่ ในการยุ ติธรรม หรือฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกัน ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรายที่ถูกกล่าวหา จะต้องถือสำนวน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ลงโทษทางวินัยข้าราชการผู้ นั้น แต่การลงโทษหรือกระบวนการในการในการออกคำสั่ง หรือการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่ง จะต้องเป็นไป ตามที่ พระราชบั ญญั ติระเบี ยบข้ าราชการพลเรื อน พ.ศ. 2551 ประกอบกฎ ก.พ. ว่ าด้ วย การดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 กำหนดไว้ 2.13.4 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายที่กำหนด วิธีปฏิบัติกฎเกณฑ์ทั่ วไปในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ รัฐ หรือของฝ่ายปกครอง โดยถือว่า เป็นกฎหมายกลาง หรือกฎหมายทั่วไปและพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้กำหนดถึงหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม กรณีผู้ที่จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของคำสั่ง ทางปกครอง มีโอกาสในการต่อสู้ ปกป้องสิทธิของตนเอง ประกอบกับมีสิทธิ ในการเรียกร้อง ให้มีการบังคับตามสิทธิของตน กล่าวคือ การดำเนินการทางวินัยจะมีการจำกัดสิทธิของข้าราชการ อันส่งผลกระทบต่อสถานะและสิทธิของผู้ถูกดำเนินการทางวินัย หากบทบัญญัติกฎหมายซึ่งเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3