2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
60 บทเฉพาะที่มีอยู่ ได้วางหลักการไว้ที่ต่ำกว่ากำหนด ก็จะต้องนำหลักการหรือบทบัญญัติในกฎหมาย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาบังคับใช้แทนเพื่อเป็นหลักประกันความเป็นธรรม หรือถือได้ว่า การดำเนินการของหน่วยงานจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักความชอบด้วยกฎหมายและหลักการ บริหารราชการที่ดี (Good Governance) (วรเจตน์ ภาคีรัตย์, 2554) ประกอบกับการดำเนินการ ทางวินัยจะต้องมีการออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการกระทบต่อสิทธิ และหน้าที่ ของบุคคลอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงจำต้องมีกฎหมายกลางในการควบคุมและถ่วงดุล เพื่อไม่ให้ เกิดช่องว่างหรือการจำกัดสิทธิที่กระทบต่อบุคคลอันส่งผลกระทบเกิน (พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539, 2539) 2.12.5 กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2551 กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2551 ออกโดย อาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยมาตรา 24 ได้กำหนด ให้ มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมขึ้นมา โดยเรียกย่อว่า ก.พ.ค. โดยมีหน้าที่และอำนาจ ตามมาตรา 31 กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงาน บุคคล ในการดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือพิจารณา วินิจฉัยอุทธรณ์ของข้าราชการที่ถูกลงโทษทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 หรือวินิจฉัยเรื่ องร้องทุกข์ ออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ใช้บังคับ โดยกฎ ก.พ.ค. ฉบับดังกล่าวนี้ได้กำหนด ขั้นตอน วิธีการในการดำเนินการในการอุทธรณ์คำสั่ง ลงโทษทางวินัย มีระยะเวลาในแต่ละช่วงของแต่ละกระบวนการอย่างชัดเจน ระยะเวลาในการใช้สิทธิ อุทธรณ์ที่มีความเป็นธรรม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยกล่าวคือ สามารถนำมาเปรียบเทียบ ในส่วนของระยะเวลาในแต่ละกระบวนการที่คณะกรรมการ ก.พ.ค. ดำเนินการมาเปรียบเทียบกับการ ใช้สิทธิในการขอพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ เพราะเนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ไม่ได้มีการวางหลักเกณฑ์หรือกระบวนการพิจารณาในขั้นตอนต่าง ๆ ในการใช้สิทธิ เพื่อทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไว้แต่อย่างใด ซึ่งประกอบกับ คณะกรรมการ ก.พ.ค. มีลักษณะเป็นองค์กรในทางบริหารกึ่งตุลาการ มิใช้องค์กรในทางตุลาการ อย่างเต็มตัว และการดำเนินการต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบของการดำเนินการทางปกครองซึ่งสามารถนำมา เปรียบเทียบกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจ ในทางปกครองเช่นเดียวกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3