2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
61 2.14 กฎหมายต่างประเทศ ผู้ วิ จัยได้นำแนวคิดการจัดตั้ งองค์กรที่ ทำหน้าที่ ตรวจสอบในต่างประเทศ รวมถึ ง หลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกระบวนการตรวจสอบหน่วยงานรัฐของสาธารณรัฐสิงคโปร์ มาศึกษาเปรียบเทียบกับงานวิจัย มีรายละเอียดดังนี้ 2.14.1 แนวคิดการจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบในต่างประเทศ ปัญหาการทุจริตของสังคมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศมีการพัฒนาที่ล้าหลัง ย่อมจะส่งผลให้ประชาชนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ทั้งการทุจริต ยั งถือเป็นภัยของสั งคมที่ ส่ งผลต่อการกำหนดทิศทางของประเทศ (กรกช วนกรกุล, 2556) ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศที่ประสบปัญหาการทุจริต โดยในปี 2564 ดัชนีภาพลักษณ์การคอรัปชั่น (Corruption Perception Index) ของประเทศไทยได้คะแนน 35 คะแนนจาก คะแนนเต็ม 100 และอยู่ในลำดับที่ 110 ของโลกจากประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมด 180 ประเทศ อันดับที่ 15 ในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก จากทั้งหมด 29 ประเทศที่เข้าร่วมการประเมิน และอยู่ในอันดับที่ 5 ในภูมิภาคอาเซียน จากประเทศที่เข้าร่วมการประเมิน 9 ประเทศ โดยในภูมิภาคอาเซียนประเทศที่ได้คะแนนมากที่สุด คือสาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้คะแนนทั้งหมดจำนวน 85 คะแนน และประเทศที่ ได้คะแนนน้อยที่ สุด คือ ประเทศกัมพูชา ได้คะแนนจำนวน 23 คะแนน (ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต สำนักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2565) ปัญหาส่วนใหญ่การเกิดทุจริตที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงในแต่ละ ประเทศนั้น ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจึงจำต้องมีการตรวจสอบและควบคุม กำกับดูแลพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ รัฐ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมตรวจสอบดูแลจากผู้ บังคับบัญชา ตามลำดับชั้นซึ่งเป็นการตรวจสอบภายในองค์กรและการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกซึ่งค่อนข้าง มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก เพราะด้วยองค์กรที่ ตรวจสอบซึ่ งเป็นองค์กรภายนอกค่อนข้าง มีความเป็นอิสระ ไม่ผูกพันหรือผูกมัดหรือมีผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานที่ตรวจสอบ โดยหน่วยงานในประเทศไทยที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบพฤติกรรมหรือควบคุมการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่รัฐที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพคือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. และในประเทศสมาชิกอาเซียนก็จะมีหน่วยงานที่คล้ายคลึง กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอยู่เช่นเดียวกัน เพื่อทำหน้าที่ในการ คอยตรวจสอบหรือควบคุมมิให้หน่วยงานรัฐใช้อำนาจในการดำเนินการที่เกินกว่าขอบเขตอำนาจ หน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3