2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
62 องค์ กรที่ มีหน้ าที่ ในการตรวจสอบกลไกการต่ อต้ านคอรั ปชั่ นจึ งเป็นองค์ กร ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นองค์กรที่สามารถตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐในการใช้อำนาจรัฐ ให้ถูกต้องและใช้งบประมาณต่าง ๆ ให้เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินกิจการอันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประชาชนให้ได้รับบริการอย่างที่สุด ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศก็จะมีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการ ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ รัฐแต่ทั้ งนี้ องค์กรที่ ทำหน้าที่ ในการตรวจสอบก็จะอยู่ ใน แต่ละบริบทของแต่ละประเทศว่ ากลไกในการทำงานเป็นอย่างไร กฎหมายให้อำนาจในการ ตรวจสอบไว้เพียงใด ซึ่งประเทศในอาเซียนนั้น สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับว่า มีศักยภาพในการจัดการกับปัญหาคอรัปชั่นที่มีประสิทธิภาพของโลกและดีที่สุดในเอเชีย และสำหรับ เอเชียแปซิฟิกได้แก่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและอีก 1 ประเทศ ที่ค่อนข้างมีอิทธิพลโดยตรงต่องานด้านการป้องกันคอร์รัปชั่นในประเทศไทยซึ่งได้แก่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่ งอยู่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และประเทศเดนมาร์กซึ่งเป็นประเทศที่มีการทุจริตคอรัปชั่น น้อยที่สุดในโลก (สุริยานนท์ พลสิม, 2562) 2.14.2 หลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่มีสิทธิและเสรีภาพของตนเอง และมีสิทธิในการที่จะได้รับ ความคุ้มครองตามที่กฎหมายภายของประเทศนั้น ๆ ให้การรับรอง คุ้มครอง รวมถึงกฎหมาย ระหว่างประเทศที่คุ้ มครองในสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง โดยในสังคมระหว่างประเทศนั้น ได้มีการก่อตั้ งองค์การหนึ่งขึ้นมา คือ องค์การสหประชาชาติ โดยจัดตั้ งเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2488 และปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 193 ประเทศ ประกอบกับได้มีการรับรอง กฎบั ตรสหประชาชาติ (UN Charter) ขึ้ น โดยที่ ประชุ มใหญ่ ได้มีการรั บรองกฎบัตรต่ าง ๆ มีการรับรองปฏิญญาสากลว่ าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ( Universal Declaration of Human Rights) โดยมุ่งเน้นถึงหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชนที่ว่า มนุษย์มีสิทธิติดตัวมาแต่เกิด มนุษย์มีศักดิ์ศรี มีความเสมอภาคกัน ดังนั้น จึงห้ามเลือกปฏิบัติต่อมนุษย์และควรปฏิบัติต่อกัน เสมือนเป็นพี่น้อง สิทธิมนุษยชนนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ทุกประเทศที่จะสร้างหลักประกันแก่ทุกชีวิตด้วยการเคารพ หลักการของสิทธิเสรีภาพที่ปรากฏ ในปฏิญญานี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้สิทธิมนุษยชนเป็นมาตรฐานร่วมกัน 3 สำหรับการปฏิบัติต่อกัน ของผู้คนในสังคมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศอันจะเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก (พีระศักดิ์ พอจิต, 2559)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3