2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
63 ประกอบกับการใช้สิทธิของเจ้าหน้าที่รัฐในการขอทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ในเรื่องของสิทธิพลเมืองตามกฎบัตรสหประชาชาติ และรวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การต่อต้านการทุจริตโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมิได้กำหนดถึงสิทธิ ของเจ้าหน้าที่รัฐในการที่จะเปิดโอกาสให้สามารถรับรู้ถึงมติดังกล่าวได้แต่อย่างใด จึงสามารถ นำมาศึกษาวิเคราะห์กับหลักของกฎหมายระหว่างประเทศได้ว่า ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้บัญญัติและรับรองสิทธิของความเป็นมนุษย์ไว้อย่างชัดเจนว่าทุกคนย่อมมีศักดิ์ศรี สิทธิ และสรีภาพ อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และมีสิทธิในการได้รับความคุ้ มครองตามกฎหมาย อย่างเท่าเทียมกัน สิทธิในการได้รับพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและเปิดเผย สิทธิในการสันนิษฐาน ว่ าเป็นผู้ บริ สุทธิ์ ก่อนศาลตัดสิน และต้องมีกฎหมายกำหนดว่ าการกระทำนั้ นเป็นความผิด ซึ่งหากพิจารณาตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมถึงจำนวน 193 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ที่ได้ให้สัตยาบันและเข้าร่วม เป็นภาคีระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2540 ยังได้มีการรับรองและให้ความคุ้มครองถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม หรือแม้แต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชการอาณาจักรไทยก็ได้มีการบัญญัติรับรองถึงสิทธิขั้นพื้นฐานไว้ด้วย แต่การดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 เหตุใดถึงมิได้แจ้งสิทธิให้กับเจ้าหน้าที่รัฐรู้ด้วยว่า ตนอยู่ ในสถานะผู้ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ กระทำความผิด ซึ่ งหากเปรียบเทียบในความผิดทางอาญา ก็จะมีการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าเป็นผู้ต้องสงสัยกระทำความผิด ตามข้อหาใด และจะถือว่า เป็นผู้กระทำความผิดเมื่อศาลมีคำพิพากษา ซึ่งการที่จะมีคำพิพากษานั้นก็จะต้องผ่านการพิจารณา จากศาลและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว กลับกันการชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพียงแต่มีมติชี้มูลว่า เจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นกระทำความผิดวินัย ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการแล้ว ก็ถือว่าถูกตัดสินว่ากระทำความผิดไปแล้ว เพราะหน่วยงานต้นสังกัด จะต้องสั่งลงโทษตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ได้มีมติว่า กระทำการทุจริตโดยไม่สามารถโต้แย้งประการอื่นใดได้เลย และแม้ว่ากฎหมายดังกล่าวจะเปิด ให้มีการใช้สิทธิทบทวนมติ แต่ก็เป็นอำนาจดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชามิใช่อำนาจของตัวผู้ถูกชี้มูล ในการที่ จะขอทบทวนมติ ประกอบกับเมื่ อสำนวนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติมาถึง หน่วยงานรัฐก็สามารถออกคำสั่งลงโทษได้เลย โดยมิต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3