2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
64 ผู้ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยทราบแต่อย่างใด อันถือว่าไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่ผู้ถูกชี้มูล ความผิด อันขัดต่อหลักกฎหมายภายในของประเทศไทย และขัดต่อหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างแน่นอน 2.14.3 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต บทบาทอำนาจหน้าที่ภารกิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่ งชาติ มีหน้ าที่ ดำเนินการตรวจสอบการทำงานของเจ้ าหน้ าที่ รั ฐมิ ให้ กระทำการทุจริต และประพฤติมิชอบเกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่านานาประเทศต่างก็ต้องมุ่งหวังที่จะขจัดปัญหาการทุจริต ให้หมดไปจากประเทศของตนเอง ซึ่งเมื่อนานาประเทศต่างมีความคิดเห็นเข้าใจตรงกัน ที่ประชุม สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้มีการพูดคุย ตระหนักถึงปัญหาในความรุนแรงอันเกิดจากการทุจริต อันจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของสังคม จึงได้เกิดอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ขึ้นมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 โดยอนุสัญญาดังกล่าวได้มีผล ใช้บังคับเมื่ อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 เป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ประเทศสมาชิก สหประชาชาติเกิดการประสานความร่วมมือระหว่างกัน อันจะทำให้เกิดการป้องกันและปราบปราม การทุจริตทั้ งระดับภายในประเทศและระดับสากลอย่ างมีประสิทธิภาพได้ และอนุสัญญา สหประชาชาติดังกล่าวยังได้กำหนดพันธกรณีที่รัฐภาคีจะต้องจัดทำนโยบา ยเพื่อป้องกันการทุจริต ที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้ง องค์กรพิเศษเพื่อต่อต้านการทุจริต นโยบายและแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ในการส่งเสริม ธรรมาภิบาล หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส (ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์, 2553) หากพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 นั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต อันเป็นผลดี แต่การดำเนินการตรวจสอบซึ่งมีผู้ถูกกระทบสิทธิอันเกิดจากการตรวจสอบนั้น ย่อมจะต้องมีความรัดกุม และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกระทบสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เพียงพอเพื่อเป็นกันปกป้อง ป้องกันสิทธิ ของตนเองมิให้ถูกละเมิดหรือถูกคุกคามสิทธิเกินควร หรือควรจะมีองค์กรอีกองค์กรหนึ่งขึ้นมา โดยเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบ กลั่นกรองสำนวนอีกชั้นเพื่อตรวจสอบความผิดพลาด ที่เกิดขึ้น เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด อันนำมาซึ่งความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ผู้ถูกสั่งลงโทษ และหากตรวจสอบปัญหาการทุจริตของประเทศต่าง ๆ แล้วทุกประเทศต่างประสบ พบปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่ ด้อยพัฒนา โดยมีความรุนแรง และซับซ้อนมากขึ้ นเรื่ อย ๆ และแน่นอนว่ าการทุจริ ตย่ อมส่ งผลกระทบต่อประเทศนั้ น ๆ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3