2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
66 ที่มีขนาดเล็ก ไม่ซับซ้อน มีความคล่องตัวในการดำเนินงานเป็นองค์กรที่รวมศูนย์การตัดสินใจไว้ที่ สำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชั่น (CPIB) เพียงหน่วยงานเดียว จึงทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ เป็นอย่างมาก ประกอบกับสำนักสืบสวนสอบสวนดั งกล่าว ยั งมีอำนาจในการสืบสวนในความผิด ฐานเจ้าหน้าที่ของรัฐรับสินบน หรือเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการประพฤติมิชอบหรือกระทำไปในทาง คอร์รัปชั่น ซึ่งหากมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนก็จะมีการส่งสำนวนสอบสวนไปยังสำนักงานอัยการ เพื่อดำเนินคดีและถูกดำเนินการทางวินัย โดยการที่จะถือว่าเป็นความผิดวินัยของเจ้าหน้าที่รัฐ ในสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้นั้น เช่น พฤติกรรมการพูดจาให้ร้ายรัฐบาล พูดจาหยาบคายต่อสาธารณชน ไม่ตรงต่อเวลา ขาดงานโดยไม่มีใบลา ไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา เหล่านี้เป็นต้น ก็จะต้องถูกลงโทษ ทางวินัย ซึ่งมีโทษการว่ากล่าวตักเตือน การปรับ หยุดจ่ายเงินสะสม ถูดลดตำแหน่งหรือถูกไล่ออก จากงาน ซึ่ งเมื่ อเจ้าหน้าที่ หน่วยงานรัฐของสาธารณรัฐสิงคโปร์ถูกลงโทษทางวินัยแล้ว ก็จะ มีกระบวนการอุทธรณ์ซึ่ งเจ้าหน้าที่ผู้นั้นจะต้องอุทธรณ์คำสั่ งลงโทษภายใน 7 วัน โดยอำนาจ การพิจารณาอุทธรณ์นั้นจะอยู่ในรูปของกรรมการหรือคณะกรรมการ ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงกว่า ผู้ถูกลงโทษทางวินัย โดยไม่ได้เป็นผู้ที่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร หรือเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกสั่งลงโทษ ทางวินัยโดยตรง และกระบวนการอุทธรณ์ นั้น จะมีหน่วยงานกองบริการสาธารณะ (Public Service Commission : PSC) ทำหน้าที่ ในการตัดสินใจหรือพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับกระบวนการวินัย ก่อนที่ผู้มีอำนาจสูงสุด จะดำเนินการออกคำสั่ งลงโทษแก่เจ้าหน้าที่รัฐผู้ที่ถูก (วิภาวี อัครบวร และวรรณพรรษศณ์ ตริยะเกษม, 2558) สาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประวัติก่อร่างสร้างประเทศที่ไม่ยาวนาน แต่ระบบกฎหมาย ของสาธารณรั ฐสิ งคโปร์ ได้มีการพัฒนาอย่ างต่อเนื่ องโดยใช้ ระบบศาลของประเทศอั งกฤษ มีการกระจายอำนาจสู่ศาลสูง ศาลชั้นต้น โดยระบบศาลสูงจะแบ่งเป็น ศาลอุทธรณ์ และศาลสูง ตามที่ กำหนดไว้ในกฎหมาย และศาลชั้นต้นจะประกอบไปด้วย ศาลประจำเขต ศาลเมจิสเตรดคอร์ท หรือศาลแขวง ศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพ และศาลที่ มีทุนทรัพย์ต่ำ ซึ่งศาลแต่ละประเภทจะมีอำนาจหน้าที่ที่แตกต่างกันไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (สุรพัฒน์ เทียนส่งรัศมี, 2555) โดยสาธารณรัฐสิงคโปร์จะไม่ได้แบ่งแยกการดำเนินคดีเช่นเดียวกับประเทศไทย ที่แบ่งแยก เป็นศาลยุติธรรมและศาลปกครอง โดยคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐในสาธารณรัฐสิงคโปร์ จะอยู่ ในอำนาจวินิจฉัยของศาลชั้นต้น และศาลสูง โดยในสาธารณรัฐสิงคโปร์การใช้ดุลยพินิจ ของเจ้าหน้าที่รัฐหรือการฟ้องร้อง บนฐานของการใช้อำนาจในทางที่มิชอบ สามารถที่จะดำเนินการ โดยให้ศาลชั้นต้น หรือศาลสูงพิจารณาได้ แต่ศาลมักจะไม่พิจารณาถึงความเหมาะสมในการตัดสินใจ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3