2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

67 ทางฝ่ายปกครอง เพราะเป็นอำนาจในทางฝ่ายบริหาร โดยศาลจะพิจารณาเพียงแต่การใช้ดุลยพินิจ และอำนาจที่ใช้นั้น อยู่ในขอบเขตของกฎหมายลายลักษณ์อักษรกำหนดไว้หรือไม่ โดยหากเกิด ข้อพิพาทที่เกิดจากการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ต่าง ๆ ศาลสาธารณรัฐสิงคโปร์จะพิจารณาแต่เพียงว่า เรื่องดังกล่าวได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับ แล้วหรือไม่ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2558) ดั งนั้ น จะเห็นได้ว่ าในประเทศสมาชิกอาเซียนสาธารณรั ฐสิ งคโปร์ เป็นประเทศที่ มี การเกิดทุจริตคอร์รัปชั่นน้อยที่สุด ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นหลัก แต่ในสาธารณรัฐสิงคโปร์ จะมีการตรวจสอบพฤติกรรมจากหน่วยงานภายนอกองค์กรซึ่ งได้แก่ สำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชั่น (CPIB) โดยสำนักดังกล่าวจะทำหน้าที่คล้าย ๆ กับคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติของประเทศไทย ในการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐทุกประเภท และการดำเนินการทางวินัยเจ้าหน้าที่รัฐของสาธารณรัฐสิงคโปร์นั้น เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐถูกสั่งลงโทษทางวินัย ก็สามารถที่จะใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายใน 7 วัน และหากไม่เห็นด้วย กับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็สามารถที่จะยื่นเรื่องต่อไปยังกองบริการ สาธารณะได้อีกชั้น โดยชั้ นนี้ ถื อเป็ นที่ สุ ด และหากเห็ นว่ าการใช้ ดุ ลยพิ นิ จในการออกคำสั่ งลงโทษทางวิ นัย หรือกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็สามารถที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้ ซึ่งกรณีของสาธารณรัฐสิงคโปร์มีความคล้ายกันกับกระบวนการอุทธรณ์ของประเทศไทย กล่าวคือ เมื่อข้าราชการถูกคำสั่งลงโทษทางวินัยแล้ว ก็จะมีการใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการ พิทักษ์ระบบคุณธรรม และสามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้หากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม 2.15 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการชี้มูลความผิดวินัยของข้าราชการพลเรือน การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ได้ดำเนินการศึกษางานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัย ของข้าราชการพลเรือนสามัญ และการขอทบทวนมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ โดยนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาศึกษาเปรียบเทียบ ดังนี้ 1. งานวิจัยของ ดนัย พุทธรักษาไพบูลย์ ศึกษาวิจัยในเรื่องของ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับ การทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในภาครัฐ และการอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษทางวินัย โดยงานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กับพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3