2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
68 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 มีการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายไว้อย่างชัดเจนว่า ให้สามารถมีการ ขอทบทวนมติดังกล่าวได้ แต่กรณีของการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐนั้น การชี้มูลความผิดดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันต่อผู้บังคับบัญชาในการให้ปฏิบัติ ตามมติ เช่นเดียวกัน แต่บทบัญญัติพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ ายบริหารในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 มิได้เปิดโอกาสให้มีการขอทบทวนมติ ไว้แต่อย่างใด จึงไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ชี้มูลความผิด โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางที่จะทำให้ การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความรวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรม จึงเป็นเหตุ ให้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งในมาตรา 99 กำหนดให้สามารถขอให้พิจารณาทบทวนมติการชี้มูลความผิดทางวินัย ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ หากมีพยานหลักฐานใหม่อันแสดง ได้ว่าไม่มีการกระทำความผิดตามที่กล่าวหา หรือกระทำความผิดในฐานความผิดที่แตกต่างจาก ที่ถูกกล่าวหา (ดนัย พุทธรักษาไพบูลย์, 2563) 2. งานวิจัยของ ประเสริฐ สิทธินวผล ศึกษาวิจัยเรื่องการตรวจสอบอำนาจชี้มูลความผิด ทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยศาลปกครองและศาลยุติธรรม โดยอธิบายว่ า กฎหมายให้อำนาจแก่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งอยู่ในฐานะ ผู้ถูกกล่าวหาอย่างร้ายแรง โดยมีโทษอยู่สองสถาน ได้แก่ การไล่ออกหรือปลดออก ผู้บังคับบัญชา ต้องลงโทษตามนั้น และห้ามพิจารณาเป็นอย่างอื่น จึงทำให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติเป็นองค์กรกึ่งตุลาการ หากไม่ระมัดระวังและไม่มีกลไกที่ดีในการคืนความเป็นธรรม ที่เหมาะสมแล้วอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นได้ โดยในกรณีมูลความผิดที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิดดังกล่าว พนักงานอัยการจะยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่อศาลยุติธรรม และมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลยุติธรรมให้ยกฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหา คนดังกล่าวแล้ว ดังนั้น หน่วยงานผู้บังคับบัญชาไม่มีอำนาจพิจารณาฐานความผิดให้แตกต่าง นอกเหนือไปจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิดทางวินัย อย่างร้ายแรง ทั้งที่เป็นความผิดประเภทเดียวกันและพยานหลักฐานที่ใช้ในการพิสูจน์การกระทำ ความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาคนดังกล่าวนั้นเป็นชุดเดียวกัน แม้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3