2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
69 ฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาทบทวนข้อเท็จจริงและตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจชี้มูลความผิด ดังกล่าวได้อีกทางหนึ่ ง แต่อาจใช้เวลาระยะหนึ่ ง ทำให้เกิดการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 99 เพื่อเพิ่ม อำนาจผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนให้มีอำนาจพิจารณาได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหามิได้มีการ กระทำความผิดตามที่กล่าวหาหรือกระทำความผิดในฐานความผิดที่แตกต่างจากที่ถูกกล่าวหา นอกเหนือไปจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิดทางวินัยได้ และสั่งเพิกถอนคำสั่งไล่ออกหรือปลดออกดังกล่าวนี้โดยเร็วโดยไม่ต้องฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งอีก (ประเสริฐ ผิวนวผล, 2563) จากการศึกษางานวิจัยในเรื่อง การทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาจากหลักทฤษฎีต่าง ๆ พบว่ า การขอทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริ ตแห่ งชาติ นั้น มีเจตนารมณ์ในการสร้างความเป็นธรรมให้กับตัวข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัยในการใช้สิทธิ เพื่อโต้แย้งหรือขอทบทวนมติ แต่เนื่องจากแนวทางปฏิบัติตามหนังสือสั่งการของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และตามบทบัญญัติของมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญข้างต้น ยังไม่ครอบคลุมในเรื่ องของสิทธิขั้ นพื้ นฐานในการรับทราบมติ และกระบวนการพิจารณาที่ไม่มีความจัดเจน ดังนั้น วรรณกรรมที่ได้ทบทวนในบทนี้ ผู้วิจัยจะนำไปใช้ เป็นข้อมูลเอกสารเพื่อประกอบการวิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนดไว้ในบทที่ 4 ต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3