2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
70 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการทบทวน มติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เพื่อ ให้การใช้สิทธิ ของข้าราชการผู้ถูกชี้มูลความผิดทางวินัย สามารถใช้สิทธิในการทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ ซึ่งคำตอบดังกล่าวมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ตามวิ ธี วิ จัย (Researeh Methodlogy) ที่ กำหนดไว้เพื่ อนำมาใช้ ในการศึกษาทำความเข้ าใจ และใช้เป็นหลักในการอธิบายถึงปัญหาและอุปสรรคในการทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีศึกษารูปแบบการการทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีเจ้าหน้าที่รัฐถูกชี้มูลความผิดทางวินัย ซึ่ งจะได้ศึกษา ในหัวข้อต่าง ๆ หลักปฏิบัติที่ควรจะเป็นตามหลักสากลที่เกี่ยวกับกฎหมายโดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การศึกษานี้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Researeh) เป็นการค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปจากเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ตามประเด็นที่ต้องการใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวกับการอุทธรณ์ในหน่วยงานราชการ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราชราช 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 เป็นต้น ตลอดจน ระเบียบ กฎ คำสั่งต่าง ๆที่เกี่ยวข้องทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะ ของการทบทวนวรรณกรรมที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รวมทั้งรายงานวิจัย ตำรา และบทความ ที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังนี้ 1. แนวคิดการจัดตั้งองค์กรอิสระ 2 แนวคิดการดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 3 การดำเนินการทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3