2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

71 4 การไต่สวนและชี้ มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ 5 สิทธิของผู้ที่ถูกดำเนินการทางวินัยและถูกชี้มูลความผิดตามมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 6. ข้อจำกัดของสิทธิในการใช้สิทธิอุทธรณ์ หรือการทบทวนมติ 7 การอุทธรณ์ 8. หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม 9 หลักความชอบด้วยกฎหมาย 10 ทฤษฎีประโยชน์สาธารณะ 11 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 12 กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ มีด้วยกัน 5 ฉบับ คือ - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 - พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 - พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 - พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 - กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2551 3.1.13 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนมติ 3.2 การวิจัยภาคสนาม (Field Research) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบโดยตรง จากการถูกชี้มูลความผิดทางวินัยโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และผู้บังคับบัญชาของผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดทางวินัย ซึ่งการศึกษานี้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) 3.2.1 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) เป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกด้วยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับ ผลกระทบ กรณีการถูกชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า และดำเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่าง ผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เป็นแบบไม่มีพิธี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3