2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
72 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญและประเด็นสัมภาษณ์ เกณฑ์การคัดเลือกผู้ ให้ข้อมูลหรืออาสาสมัคร ผู้ วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เป็นกระบวนการสุ่มตัวอย่าง เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย โดยคัดเลือกผู้สมัครใจ เข้าร่วมโครงการและให้ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ และเป็นการคัดเลือกแบบกระจายให้เกิด ความยุติธรรม ในการคัดเลือกอาสาสมัครอย่างทั่วถึงและมิได้เลือกมาเข้ามาเพียงเพราะเพื่อความสะดวก หรืออยู่ในฐานะสมยอม แต่เป็นการคัดเลือกอาสาสมัครที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานวิจัย ในกระบวนการพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นผู้แทนอาสาสมัครของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ที่มีคุณสมบัติเข้าร่วม โครงการวิจัย โดยแบ่งกลุ่มอาสาสมัครเป็น 3 กลุ่ม รวมจำนวน 12 คน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มของเจ้าหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือหัวหน้ากลุ่มงานในสำนักงาน ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผู้มีอำนาจหน้าที่กลั่นกรองเอกสารเกี่ยวข้องกับการขอทบทวนมติ คณะกรรมการป้องกันและปรามปราบการทุจริตแห่งชาติ จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน และพนักงานไต่สวน ผู้ตรวจสอบเอกสารพยานหลักฐานที่ขอทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน รวมจำนวน 4 คน ซึ่งทั้งสองกลุ่มเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความโดยตรงและโดยอ้อม เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ กระบวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมถึงการพิจารณา ในการสิทธิทบทวนมติดังกล่าว โดยผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี กลุ่มที่ 2 กลุ่มของเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนิติกรประจำหน่วยงานรัฐ ได้แก่ นิติกรผู้ที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน และนิติกรที่ สังกัดส่วนราชการพลเรือนสามัญในจังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน รวมจำนวน 4 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการดำเนินการทางวินัยและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความชำนาญในฐานะผู้ปฏิบัติงานเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี กลุ่มที่ 3 กลุ่มของผู้บังคับบัญชาข้าราชการซึ่ งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน และหัวหน้าส่วนราชการ ในระดับจังหวัดพัทลุงจังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน รวมจำนวน 4 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการ ใช้สิทธิทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมถึงเป็นผู้ที่ต้อง ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3