2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
76 บทที่ 4 ผลการวิจัย จากความสำคัญของประเด็นปัญหาเรื่ องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาทบทวนมติของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามแนวทางของหนังสือคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ ปช 0026/ ว 0028 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ว่าเป็น แนวทางที่ขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หรือไม่ ประเด็นที่สอง หากมีการเพิ่มมาตรการในการให้สิทธิผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดในการ ได้รับทราบมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อใช้สิทธิในการ ขอทบทวนมติก่อนที่ จะมีคำสั่ งลงโทษทางวินัยจะเป็นผลดีหรือไม่ ประการสุดท้ายหากมีการ กำหนดขั้ นตอน กระบวนการพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติไว้ด้วยจะส่งผลดีอย่างไร ซึ่ งผู้ วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้า โดยการเก็บ และรวบรวมข้อมูลเอกสารในบทที่ 2 และระเบียบวิ ธี วิจัยที่ กำหนดไว้ ในบทที่ 3 จึ งนำมาสู่ การวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 4.1 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ตามแนวทางของหนังสือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ ที่ ปช 0026/ว 0028 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ขัดต่อพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 หรือไม่ หลั กเกณฑ์ ในการพิ จารณาทบทวนมติ ของคณะกรรมการป้ องกั นและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติสามารถแยกวิเคราะห์ออกได้เป็น 2 ประการ ตามข้อ 4.1.1 กระบวนการไต่สวน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และข้อ 4.1.2 การพิจารณาทบทวน พยานเอกสารหลักฐานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและการกำหนด ระยะเวลาในการส่งพยานเอกสาร สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ 4.1.1 กระบวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งมีบทบาทในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานราชการ และตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานราชการเป็นอย่างมาก โดยตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3