2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

77 ว่ าด้ วยการป้ องกั นและปราบปรามการทุ จริ ต พ.ศ. 2561 ได้ กำหนดหน้ าที่ และอำนาจ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไว้ โดยให้อำนาจและหน้าที่ในการ ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐได้ ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้กำหนดนิยามคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ไว้อย่างชัดเจนเพื่อตรวจสอบ ซึ่งหากคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติได้ตรวจสอบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐแล้วพบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด มีการใช้อำนาจเกินขอบเขต หรือได้ดำเนินการอันฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดไว้ในกรณี เกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การกระทำผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ ในการยุติธรรม หรือการกระทำผิดที่ เกี่ยวข้องกัน อันถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ของข้ าราชการ ตามมาตรา 91 แห่ งพระราชบัญญัติ ประกอบรั ฐธรรมนูญว่ าด้ วยการป้ องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็จะ ดำเนินการไต่สวนความผิดกับข้าราชการผู้นั้น ซึ่งหากผลการไต่สวนพบว่ามีการกระทำความผิด ทางวินัยจริง ก็จะดำเนินการส่งรายงานสำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐานและคำวินิจฉัยมายัง ผู้ บังคับบัญชาของเจ้ าหน้ าที่ รั ฐหรื อผู้ มีอำนาจแต่ งตั้ งถอดถอน เพื่ อให้ดำเนินการทางวิ นัย หรือดำเนินการลงโทษต่อไป หากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติว่า เจ้าหน้าที่รัฐผู้ ใดมีมูลในการกระทำความผิดในลักษณะของการกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชา ของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนจะต้องถือเอาสำนวนการไต่สวนและเอกสารหลักฐาน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัย ของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นแล้วแต่กรณี สามารถดำเนินการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยโดยไม่ต้องออกคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอีก แต่ก่อนที่ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนจะดำเนินการ ออกคำสั่งลงโทษทางวินัยนั้น มาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้เปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้สิทธิ ขอทบทวนมติดังกล่าวได้ โดยการใช้สิทธิทบทวนมติดังกล่าวนั้น จะต้องมีพยานหลักฐานใหม่ อันแสดงได้ว่า เจ้าหน้าที่ รัฐผู้ ถูกกล่าวหามิได้มีการกระทำความผิดตามที่มีการชี้ มูลความผิด และจะต้องดำเนินการส่ งหนังสือพร้ อมเอกสาร และพยานหลักฐานถึ งคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อขอให้พิจารณาทบทวนมติภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง หากผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนขอใช้สิทธิเพื่อพิจารณาทบทวนมติดังกล่าว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3