2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
79 ในการใช้สิทธิเพื่อทบทวนมติ แต่ดุลยพินิจดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อข้าราชการผู้ถูกชี้มูลความผิด ในการที่ไม่มีหลักประกันและความมั่นคงในการพิจารณา โดยอาจจะนำมาซึ่งการเปรียบเทียบได้ เพราะหากบางรายไม่มีการทบทวนมติก็จะต้องดำเนินการสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาผู้ถูกชี้มูลความผิด ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับรายงานสำนวนการไต่สวน แต่หากมีการใช้สิทธิทบทวนมติดังกล่าว ระยะเวลาในการพิจารณาออกคำสั่งลงโทษ 30 วันดังกล่าว จะเริ่มนับเมื่อได้รับแจ้งผลการพิจารณา การทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยการปิดกั้ นสิทธิของข้าราชการผู้ที่ ถูกชี้ มูลความผิดวินัยดังกล่าวนี้ และกำหนด เพียงแต่การให้สิทธิดุลยพินิจแก่ผู้บังคับบัญชาเท่านั้น อาจจะถือได้ว่าหลักการพิจารณาดังกล่าว เป็นการไม่สอดคล้องกับหลักแนวคิดในเรื่องของหลักกฎหมายต่างประเทศซึ่งก็คือ หลักปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นหลักการที่นานาประเทศต่างเคารพและถือปฏิบัติ เพราะหลักการนี้ถือว่า มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่มีสิทธิและเสรีภาพของตนเอง และย่อมจะต้อง ได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายภายในประเทศให้การรับรองคุ้มครอง และมีหลักในการห้ามเลือก ปฏิบัติต่อมนุษย์ ทั้งหลักการดังนี้ยังมุ่งคุ้มครองสิทธิอันพึงมีที่ทุกคนควรจะได้รับอีกด้วย และยิ่งเป็น กรณีที่ บุคคลซึ่ งเป็นผู้ ถูกกระทบสิทธิ โดยตรง ก็ยิ่ งจะต้องได้รับสิทธิ ในการรับทราบ โต้แย้ง หรือคุ้มครองตามกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ประกอบกับกระบวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ซึ่ งกำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561 โดยมีขั้นตอนและวิธีการ ดำเนินการคือ เมื่อมีกรณีการกล่าวหาข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ รัฐผู้ ใด ว่ากระทำความผิดวินัย ในฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการหรือฐานความผิดต่าง ๆ ข้อ 47 ของระเบียบดังกล่าว ได้กำหนดให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงหรือไต่สวน ข้อเท็จจริงเบื้องต้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าการนั้นจะเป็นคุณ หรื อเป็นโทษต่ อตั วผู้ ถู กกล่ าวหาโดยการไต่ สวนนั้ น จะกระทำโดยคณะกรรมการป้ องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน หรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวน ซึ่ งประกอบด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไม่น้อยกว่ า 2 คน และบุคคลอื่นเป็นคณะกรรมการไต่สวน หรืออาจเป็นการมอบหมายให้เลขาธิการ หัวหน้าพนักงานไต่สวน หรือพนักงานไต่สวนเป็นคณะไต่สวนเบื้ องต้น (ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561, 2561)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3