2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
81 โดยหากพิจารณาแล้วเห็นว่า ฐานอำนาจของการแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนและคณะกรรมการ สอบสวนทางวิ นั ย ฐานอำนาจก็ มาจากบทบั ญญั ติ ของกฎหมายในระดั บพระราชบั ญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ และระดับพระราชบัญญัติ ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา ผ่านความเห็นชอบ จากรัฐสภาในฐานะผู้แทนประชาชนแล้ว แต่หากเปรียบเทียบในเรื่องของระยะเวลาที่คณะกรรมการ ทั้ ง 2 คณะ ที่ ใช้ในการดำเนินการแล้วย่อมมีความต่างกันอยู่ เพราะในส่วนของการไต่สวน พนักงานไต่สวนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น มีระยะเวลาในการไต่สวน ถึง 2 ปี นับแต่เริ่มไต่สวน และสามารถขอขยายระยะเวลาได้อีก 1 ปี แต่การดำเนินการทางวินัย ของคณะกรรมการสอบสวนวินัยนั้ น จะมีระยะเวลาในการสอบสวนเพียงแค่ 120 วัน นับแต่ เริ่มสอบสวน และสามารถขอขยายระยะเวลาได้เพียงแค่ 60 วัน หากเกินกว่านั้น จะต้องส่งเรื่องไปยัง อ.ก.พ. กระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการเร่งรัดให้มีการสอบสวนที่แล้วเสร็จโดยเร็ว เฉพาะในส่วน ของระยะเวลาในการสอบสวนก็มีความต่างกันแล้ว และการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กับคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย สาระสำคัญในการไต่สวน ก็ไม่ได้มีความต่างกันในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ กล่าวคือ คณะกรรมการทั้ง 2 คณะ มีหน้าที่ในการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหามีการกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่ หากมีการ กระทำความผิดจริง การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานใด และผิดในบทบัญญัติของระเบียบข้อใดเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจเพื่อลงโทษ รวมถึงระดับโทษนั้น จะเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชาตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอำนาจเหนือจากคณะกรรมการ ทั้ง 2 คณะ ต่อมาเมื่อคณะกรรมการไต่สวนได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายจากคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแล้ว ก็จะดำเนินการจัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาและกำหนด แนวทางการไต่ สวน โดยการไต่ สวนของคณะกรรมการไต่ สวนนั้ น ก็ จะมี ลั กษณะวิ ธี การ และการดำเนินการไต่ สวนเช่ นเดี ยวกับการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนทางวิ นัย โดยกระบวนการต่าง ๆ นั้น ถูกกำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่ งชาติว่ าด้ วยการตรวจสอบและไต่ สวน พ.ศ. 2561 โดยระเบี ยบดั งกล่ าวได้ กำหนดให้ คณะกรรมการไต่สวนมีการแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบ มีการแจ้งพยานหลักฐาน ที่สนับสนุนการแจ้งข้อกล่าวหา มีการเรียกผู้ถูกกล่าวหาเพื่อมาให้ถ้อยคำ พร้อมเปิดโอกาสให้ ผู้ถูกกล่าวหาสามารถโต้แย้งการกล่าวหาและพยานเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ได้ และเมื่อคณะกรรมการไต่สวน ได้ดำเนินการไต่สวนโดยรวบรวมพยานเอกสารหรือพยานต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ก็จะมีการประชุม ปรึ กษาเพื่ อพิ เคราะห์ ชั่ งน้ ำหนั กพยานหลั กฐานทั้ งหมด คำแก้ ข้ อกล่ าวหา ข้ อเท็ จจริง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3