2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

83 ที่พิจารณาเรื่องวินัยร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ ยกเว้นศาล ก็ยังไม่สามารถที่จะพิจารณา เปลี่ยนแปลงฐานความผิดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ชี้มูลความผิด ตามฐานความผิดตามข้างต้นได้ ส่วนนี้เห็นได้ว่าเมื่อกระบวนการดำเนินการไต่สวนและกระบวนการ สอบสวนของคณะกรรมการทั้ง 2 องค์คณะ มีกระบวนการที่เหมือนกัน ทั้งสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ ของการดำเนินการสอบสวนก็เหมือนกัน การที่ มติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติถือเป็นที่สุด และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงได้ในชั้นของฝ่ายปกครอง หรือชั้นการพิจารณาทบทวนจากองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล การอุทธรณ์ร้องทุกข์ เห็นว่าอาจส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ ถูกกล่าวหา อันเป็นการ สร้างความไม่เท่าเทียมให้กับผู้ถูกชี้มูลความผิด และอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดอย่างมาก และผู้วิจัยเห็นว่า การที่ให้ถือมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นที่สุด ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงฐานความผิด กรณีที่ถูกชี้มูลความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการนั้น อาจเป็นการขัดต่อหลักการพิจารณาทางปกครอง ขัดต่อหลักนิติธรรม ซึ่ งหลัก การดังกล่ าว เป็นหลักการที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจภายใต้กฎหมายที่กำหนด และการใช้อำนาจดังกล่าว จะต้องอยู่บนหลักพื้นฐานความสมเหตุสมผล ไม่ก้าวล้วงไปในสิทธิของประชาชน เพราะหลักการดังกล่าว เป็นหลักการที่มีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งข้าราชการผู้ที่ถูกชี้มูลความผิด ก็ถือว่าเป็นประชาชนคนหนึ่งด้วยเช่นกัน เหตุของการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในช่วงของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 11 มกราคม 2566) มีคำกล่าวหาร้องเรียนเข้าสู่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจำนวนทั้ งสิ้น จำนวน 2,051 เรื่อง โดยพบว่า เรื่องที่กล่าวหามีลักษณะความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เช่น การละเลย การเพิกเฉยต่อการปฏิบัติตามหน้าที่ กระทำการเกินอำนาจหน้าที่โดยทุจริต และรวมถึงการอนุมัติ ไม่อนุมัติใบอนุญาตซึ่งกระทำโดยมิชอบ เป็นต้น จำนวน 1,381 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 67.33 รองลงมาเป็นเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 297 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 14.48 และเรื่องของการใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ โดยมิชอบหรือโดยทุจริต จำนวน 171 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 8.34 และเรื่องของการจงใจไม่ยื่นทรัพย์สิน และหนี้สิน/จงใจ ยื่ นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้ สินอันเป็นเท็จจำนวน 1 เรื่ อง คิดเป็นร้อยละ 0.05 (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ , 2566) โดยต้นเหตุหลัก ๆ การชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะมาจากการที่ คณะกรรมการดังกล่าว มีเบาะแส มีความสงสัยหรือมีผู้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3