2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

84 ในแวดวงราชการจึงเกิดการตรวจสอบขึ้น เพราะอำนาจหน้าที่หลัก ๆ ของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุ จริ ตแห่ งชาติ ได้ ถู กกำหนดไว้ ในกฎหมายไม่ ว่ าจะเป็ นรั ฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้มีอำนาจตรวจสอบเกี่ยวกับการกระทำ การต่าง ๆ อันเกี่ ยวกับการที่ หน่วยงานราชการใช้ อำนาจรั ฐในการจัดทำบริ การสาธารณะ เพื่อประชาชนไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการในส่วนของงบประมาณรายได้ หรือทรัพยากรต่าง ๆ และแน่นอนว่าเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติหรือผู้บริหารในหน่วยงานของรัฐ กระทำการที่ส่อไปในทาง ที่ประพฤติมิชอบ หรือส่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้เพื่อตนเองหรือผู้อื่น คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็จะเข้ามาดำเนินการ โดยตรวจสอบกระบวนการและวิธีการ รวมถึงการบริหารทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ว่าเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบ กฎหมายกำหนดไว้ หรือไม่ หรือการกระทำนั้น ๆ เป็นไปโดยสุจริตหรือไม่อย่างไร หากการดำเนินการนั้นกระทำไป โดยไม่สุจริตหรือพบว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้บริหารในองค์กร กระทำการที่ส่อไปในทางที่ไม่สุจริต คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็จะดำเนินการไต่สวน เรื่องที่ เกี่ยวข้องอย่างละเอียด ตามขั้นตอนและกระบวนการที่กำหนดไว้ในระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นก็จะมีมติชี้มูลความผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐผู้ที่เกี่ยวข้อง แล้วส่งมาให้กับหน่วยงาน ต้นสังกัด เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามที่กฎหมายกำหนดดำเนินการ ทางวินัยตามระเบียบกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลนั้น ๆ ซึ่ งการดำเนินการดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการถูกกระตุ้นจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต เพราะไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย หรือนานาประเทศต่างก็มุ่งหวังที่จะขจัดปัญหาการทุจริตให้หมดสิ้นไป จากประเทศของตนเอง ซึ่งเมื่อนานาประเทศต่างมีความคิดเห็นเข้าใจตรงกัน และมีเจตนาในการ ดำเนินการร่วมกันเพื่อป้องกัน ระงับ ยับยั้งการทุจริต จึงได้ทำข้อตกลงร่วมกัน เกิดเป็นอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ประเด็นนี้ เห็นได้ว่า การที่มีองค์กรซึ่ งทำหน้าที่ ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ อีกทั้งยังเป็นองค์กรภายนอกที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ย่อมมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการใช้ อำนาจของหน่ วยงานรั ฐอย่ างแน่นอน ทั้ งการทำหน้ าที่ ในการตรวจสอบดั งกล่ าวก็ เป็นไป ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมแห่ งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่ งเป็นแผนงานเชิ งรุ กของรั ฐบาล ในการต่อต้านการทุจริต เพื่อยกระดับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศไทยให้อยู่ในระดับ มาตรฐานสากล แต่กระบวนการตรวจสอบหรือกระบวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3