2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
85 และปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น จะต้องเป็นกระบวนการที่มีความรัดกุม ต้องเปิดโอกาส ให้ผู้ถูกไต่สวนหรือผู้ถูกสอบสวนทุกราย มีสิทธิในการต่อสู้หรือชี้แจงรายละเอียดอย่างอิสระและเต็มที่ เพราะเนื่องจากการไต่สวนดังกล่าว เป็นการกระทำที่อาศัยอำนาจตามมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แม้จะยังมิได้เป็นคำสั่งทางปกครองก็ตาม แต่การมีมติดังกล่าว หากดูในทางกฎหมาย ย่อมถือว่าเกิดการกระทบสิทธิต่อผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดแล้ว เพราะเนื่องด้วยมติ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติถูกคุ้มครองโดยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2546 ซึ่งสรุปได้ว่า “เมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ดำเนินการ ไต่สวนข้อเท็จจริง และวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่แล้วมีมติชี้มูลความผิดทางวินัยกับผู้ถูกกล่าวหา ในฐานความผิดทุจริตต่อหน้าที่ราชการ อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง กรณีจึงย่อมเป็นอันยุติ ในฐานความผิดตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ไต่สวนและวินิจฉัย องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่อาจพิจารณาเปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางวินัยตามที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติวินิจฉัยยุติแล้วให้เป็นประการอื่นได้อีก” ประกอบกับศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยไว้ตามคำวินิจฉัยที่ 11/2566 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 11/2566 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2566, 2566) ว่าความในมาตรา 98 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับมาตรา 26 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม และมาตรา 29 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อันเป็นการย้ำความชัดเจนว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสามารถ ที่ จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริ งกับเจ้าหน้าที่ รัฐตามอำนาจหน้าที่ ได้ และคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลผูกพันที่ให้หน่วยงานราชการจะต้องปฏิบัติตาม เพราะมาตรา 211 วรรคสี่ ของรั ฐธรรมนู ญแห่ งราชอาณาจั กรไทย พุ ทธศั กราชการ 2560 ได้ กำหนดไว้ว่า “คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาดมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ” ฉะนั้นแล้ว เมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติ เป็นประการใด ย่อมกระทบต่อหน่วยงานราชการและกระทบต่อสิทธิของผู้ ถูกชี้ มูลความผิด อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าข้อเท็จจริงจากการไต่สวนนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ ประกอบกับ คณะกรรมการกฤษฎี กาได้ มี ความเห็นไว้ ใน เรื่ องเสร็ จที่ 694/2548 สรุ ปได้ ว่ า “ในกรณีที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำความผิด ทางวินัย หน่วยงานของรัฐจะต้องนำรายงาน เอกสาร และความเห็นของ คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เกี่ยวกับการไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกกล่าวหานั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3