2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ

86 กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่มาปรับใช้กับกฎหมายหรือระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วย การบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหา” ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 98 วรรคหนึ่ ง ได้ บัญญัติ ไว้ ชั ดแจ้ งแล้ วว่ า เมื่ อคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดได้กระทำผิดวินัยและส่งเรื่องให้ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้นั้นแล้ว ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ผู้นั้นได้แต่จะดำเนินการลงโทษตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยไม่ต้องดำเนินการสอบสวนทางวินัยอีก โดยให้ถือว่ ารายงานเอกสารและความเห็นของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นสำนวนการสอบสวนทางวิ นัย ของคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานของ ผู้ถูกกล่าวหานั้น หน่วยงานของรัฐจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ”(สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 694/2548, 2548) ทั้งนี้ ในส่วนของหน่วยงานราชการ เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นเป็นประการใดแล้ว หน่วยงานราชการจะต้องปฏิบัติตามอันเป็นไปตามหนังสือสั่ งการของหนังสือกรมเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีที่ น. 11310/2482 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2482 (กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2482) ซึ่งสรุปได้ว่า “เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นเป็นประการใดแล้ว ให้เป็นไปตามความเห็นของ คณะกรรมการกฤษฎีกา” ฉะนั้นแล้ว การที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ชี้มูล ความผิดกับเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ย่อมเป็นการกระทบสิทธิ ในเนื้ อตัวร่างกาย สิทธิ ในการทำงาน และสิทธิต่าง ๆ ของผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากหน่วยงานราชการ จะต้องถือและยึดปฏิบัติตามมติดังกล่าว อันอาจเป็นการขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ขัดต่อหลักการ นิติรัฐ นิติธรรม ซึ่งจะต้องใช้กฎหมายให้เป็นธรรมกับสังคม กับประชาชนด้วย ดังนั้น กระบวนการ ดำเนินการไต่สวนจึงจะต้องเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ มีการสร้างหลักการเปิดโอกาสให้ผู้ ถูก ชี้มูลความผิดได้ต่อสู้อย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้ทราบมติการถูกชี้มูลความผิด เพื่อเป็นการ เปิดโอกาสให้ผู้ถูกชี้มูลความผิด สามารถใช้สิทธิโต้แย้งหรือขอทบทวนมติดังกล่าว เพื่อไม่เป็นการ สร้างภาระที่เกินควร หรือลดความเสียหายจากการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสร้างความเป็นธรรมให้กับข้าราชการผู้ที่ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่ ในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และการปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าวเป็นการกระทำแทนรัฐเพื่อประโยชน์ของราชการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3