2566-2 นายภัทราวุธ ฉวีนิล-การค้นคว้าอิสระ
87 4.1.2 การพิจารณาพยานเอกสารหลักฐานเพื่อใช้สิทธิทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จากการศึ กษาเรื่ องการทบทวนมติ ของคณะกรรมการป้ องกั นและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 นั้น จะพบว่าบุคคลที่จะสามารถมีหนังสือเพื่อขอให้มีการ พิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้จะต้อ ง เป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่มีอำนาจในการแต่งตั้งถอดถอนข้าราชการผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งนิยามของคำว่า “ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน” ตามมาตรา 99 ย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจในการ สั่งลงโทษข้าราชการผู้ที่ถูกกล่าวหาตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติชี้ มูลความผิดทางวินัยผู้ ถูกกล่าวหา แต่ทั้ งนี้ ก็จะต้องดูบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วย การบริหารงานบุคคล หรือตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการในแต่ละ ประเภทประกอบในเรื่ องของอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาของข้าราชการในแต่ละประเภท เช่น กรณีของข้าราชการพลเรือนสามัญ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งสามารถดำเนินการ สั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญได้นั้น จะต้องพิจารณาตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งจะระบุอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาในแต่ละลำดับชั้นไว้ว่า สามารถที่จะสั่ งลงโทษข้าราชการลำดับใดได้บ้างซึ่ งหากข้าราชการผู้ ที่ถูกชี้ มูลความผิดอยู่ ใน ส่วนภูมิภาคและมีตำแหน่งในระดับชำนาญการพิเศษลงมา อำนาจในการดำเนินการทางวินัย ก็จะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการในจังหวัดที่ข้าราชการผู้นั้นปฏิบัติราชการ แต่หากข้าราชการ รายที่ถูกชี้มูลความผิดมีตำแหน่งระดับอำนวยการขึ้นไปอำนาจในการพิจารณาดำเนินการทางวินัย ก็จะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของอธิบดีหรือปลัดกระทรวงในสังกัด โดยปกตินั้นผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีอำนาจในการดำเนินการ ทางวินัยและพิจารณาอุทธรณ์หรือทบทวนการดำเนินการจากการออกคำสั่งทางปกครองได้ โดย สามารถพิ จารณาทบทวนคำสั่ งทางปกครอง ได้ ไม่ ว่ าจะ เป็ นในส่ วนของข้ อกฎหมาย ปัญหาข้อเท็จจริง และความเหมาะสม ทั้ งผู้ บังคับบัญชายังมีอำนาจในการวินิจฉัยเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่ งทางปกครองที่ออกได้ (เศรษฐพงศ์ แหล่งสท้าน, 2560) แต่ในส่วนของ การดำเนินการทางวินัยก็จะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาอุทธรณ์เฉพาะอยู่แล้ว ประกอบกับประเด็นการพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ แม้ว่ าการของทบทวนมติตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญข้างต้น จะกำหนดให้การที่สามารถใช้สิทธิในการทบทวนมติของคณะกรรมการป้องกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3