2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
บทที่ 1 บทนา 1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งสาคัญ ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศ ไทยกาลังเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุ (Aging society) เนื่องจากประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้ม ที่มีจานวนที่เพิ่มมากขึ้น แต่ประชากรวัยเด็กแรกเกิดถึงอายุ 14 ปี และประชากรวัยทางาน อายุ 15 ถึง 59 ปี มีสัดส่วนที่ลดน้อยลง โดยประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปีพ.ศ.2548 และในปี พ.ศ.2564 เป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely aged society) จากสถิติการสารวจ ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2565 พบว่าประชากรสูงอายุมีประมาณ 12 ล้านคน คิดเป็นจานวนร้อยละ 18.94 ของจานวนประชากรทั้งหมด ในช่วงอายุ 60 ถึง 69 ปี มี ประมาณ 7 ล้านคน ช่วงอายุ 70 ถึง 79 มีประมาณ 3.6 ล้านคน ช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไปประมาณ 1.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี พ.ศ.2537 ซึ่งมีประชากรสูงอายุคิดเป็นจานวนร้อยละ 6.8 ของ จานวนประชากรทั้งหมด (สานักงานสถิติแห่งชาติ, 2565) และคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ.2574 ประเทศ ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วน มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด (กรมสุขภาพจิต, 2565) ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนวัยทางานมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาวะสูงวัยนั้นจะมาพร้อมกับความเปราะบางทั้งทางด้านกายภาพ จิตใจ และสังคม ผู้สูงวัยจึง ต้องพึ่งพาคนอื่นมากขึ้นในหลายด้าน การที่ครอบครัว คนรอบข้าง สังคม รวมไปถึงรัฐต้องเข้ามา ประคับประคองผู้สูงวัยจาเป็นต้องใช้เวลา เงินทอง และทรัพยากรต่าง ๆ มากตามจานวนผู้สูงวัย ถ้ายิ่ง มากก็อาจจะกระทบต่อทั้งด้านส่วนตัวและองค์รวมทางเศรษฐกิจ สังคม และระบบโครงสร้างต่าง ๆ จึงจาเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยนี้ (Money duck, 2563) เมื่อจานวน ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอัตราการดูแลของคนวัยทางานลดลง จึงทาให้เป็นภาระของภาครัฐที่จะต้องเข้ามา ดูแลปัญหาผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยรัฐเป็นฝ่ายสร้างสถานการณ์และบรรยากาศที่ เอื้อต่อการเสริมสร้างพลังให้แก่ประชาชนและชุมชน เป็นการผนึกกาลังจนพัฒนากันเป็นประชารัฐ (civil state) ประชาสังคม (civil society) และด้วยสังคมไทยกาลังเข้าสู่ประชาคมผู้สูงวัย ในปัจจุบัน หน่วยงานรัฐได้พยายามจัดตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุ โครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน มีการกาหนดนโยบายและแผนในทุกระดับที่เกี่ยวกับเรื่องการจัดสวัสดิการให้มากขึ้น เพื่อให้เพียงพอ ทั่วถึงและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคม ด้วยสังคมไทยกาลังเข้าสู่ประชาคมผู้สูงวัย ในปัจจุบันหน่วยงานรัฐได้พยายามจัดตั้งศูนย์บริการ ผู้สูงอายุ โครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน มีการกาหนดนโยบายและแผนในทุก ระดับที่เกี่ยวกับเรื่องการจัดสวัสดิการให้มากขึ้น ให้เพียงพอทั่วถึงและสอดคล้องกับสถานการณ์ทาง สังคม แม้รัฐได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กาหนดให้รัฐส่งเสริมบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข ส่ งเสริมในเรื่อง การศึกษา การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3