2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
2 การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การจัดที่พักอาศัย และที่สาคัญคือการจ่าย เบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เริ่มตั้ งแต่ปี พ.ศ. 2555 เพื่อเป็น หลักประกันรายได้แก่ผู้สูงอายุทุกคน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลได้จ่ายเบี้ยยังชีพให้ ผู้สูงอายุ จานวน 10,913,245 คน เป็นเงิน 82,341,036,900 บาท และมีแผนการจ่ายเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จานวน 11,028,020 คน เป็นเงิน 87,580,081,200 บาท โดย จานวนผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จานวน 114,775 คน คิดเป็นร้อยละ 1.05 และจานวนเงินที่ เพิ่มขึ้น เป็นเงิน 5,239,044,300 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.36 (ฐานเศรษฐกิจ, 2565) อย่างไรก็ตามแม้รัฐจะมีการจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุทุกคน แต่ก็ยังมีผู้สูงอายุจานวนไม่น้อย สามารถทางานได้ การที่ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้ย่อมส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพกายและจิตที่ ดี ครอบครัวมีสุข มีหลักประกันที่มั่นคงได้รับสวัสดิการและบริการสังคม อยู่อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี พึ่งพาตนเองได้ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจและมีส่วนร่วมในครอบครัว ชุมชน และสังคม มีโอกาสเข้าถึง ข้อมูลและข่าวสารอย่างต่อเนื่อง รัฐได้จัดตั้งรูปแบบกองทุนผู้สูงอายุให้นาไปประกอบอาชีพที่ เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และการที่ผู้สูงอายุทางานหาเลี้ยงชีพนั้น เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงในเรื่องรายได้ให้สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ยาวนานขึ้น และเป็น การเปลี่ยนมุมมองภาพผู้สูงอายุที่ว่า “ผู้สูงอายุเป็นภาระ” ให้เป็น “ผู้สูงอายุมีคุณค่า” แม้ว่าบุตรยังคง เป็นแหล่งรายได้ที่สาคัญของผู้สูงอายุในปัจจุบัน แต่ก็มีแนวโน้มลดลง อันเนื่องมาจากผลของค่านิยมที่ เปลี่ยนไปในสังคมไทยที่มีบุตรน้อยลง รวมถึงการย้ายถิ่นของคนในวัยทางาน จึงทาให้ผู้สูงอายุได้รับ เงินเพื่อช่วยเหลือจุนเจือจากบุตรหลานน้อยลงไปด้วย การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทางานและประกอบ อาชีพเป็นเรื่องที่สาคัญอย่างยิ่ง นอกจากการทางานจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุแล้ว การ ทางานยังช่วยส่งเสริมสุขภาพทั้งทางร่างกายจิตใจและสังคมของผู้สูงอายุ (กรมสุขภาพจิต, 2565) โดย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกร อาชีพค้าขาย งานฝีมือ และอาชีพอื่น ๆ ส่วนมากจะเป็น อาชีพอิสระ ที่ใช้ฝีมือและทักษะที่ผู้สูงอายุมีอยู่แล้ว (กรุงเทพธุรกิจ, 2565) หรือได้รับการส่งเสริม สนับสนุนฝึกอาชีพ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 11 (3) กาหนดให้ส่งเสริมการฝึก อาชีพของผู้สูงอายุ ประกอบกับพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543 มาตรา 16 (6) ให้มีอานาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการ สาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง โดยได้รับการส่งเสริม และฝึกทักษะการ ประกอบอาชีพ เมื่อพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 13 กาหนดให้มีการจัดตั้ง “กองทุนผู้สูงอายุ” ขึ้นในสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับ การคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุน ผู้สูงอายุ ให้มีศักยภาพ ความมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ ดี กองทุนผู้สูงอายุจึงเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อส่งเสริมการ กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพให้ผู้สูงอายุได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี และสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ตามความจาเป็นขั้นพื้นฐาน การให้ทุนประกอบอาชีพ ประเภทกู้ยืมรายบุคคล และรายกลุ่มสาหรับ ผู้สูงอายุ เรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกาหนดเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับประโยชน์สูงสุด ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 11(3) กาหนดให้รัฐส่งเสริมการประกอบอาชีพหรือ ฝึกอาชีพที่เหมาะสม โดยจัดสวัสดิการให้ผ่านกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3