2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

3 ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุ จากสถิติ การกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุในปีพ.ศ.2565 มีผู้กู้ยืมเงินจานวน 1,965 คน รวมจานวนเงิน 56,723,519 บาท และในปีพ.ศ.2566 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน มีผู้กู้ยืมเงินจานวน 2,093 คน รวมจานวนเงิน 59,849,595 บาท (กองทุนผู้สูงอายุเพื่อการคุ้มครองส่งเสริมสนับสนุนผู้สูงอายุให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี, 2566) แสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้สูงอายุในการกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อไป ประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเอง ประกอบกับประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่องหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ.2549 ข้อ 5 (3) กาหนดหลักเกณฑ์จ่ายเงินกู้ให้กับผู้สูงอายุได้กู้ยืมเพื่อเป็นทุนการประกอบอาชีพ โดยให้กู้ยืมเงิน เป็นรายบุคคลได้คนละไม่เกิน 30,000 บาท หรือกู้ยืมเงินเป็นรายกลุ่ม ๆ ละไม่น้อยกว่า 5 คน ได้กลุ่ม ละไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ขอกู้ยืมเงินต้องไม่ได้รับความช่วยเหลือจากแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ โดยไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุน ให้ผู้สูงอายุได้นาเงินไป ประกอบอาชีพเพื่อพึ่งพาตนเองได้ แต่ยังพบว่ามีปัญหาและอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นการหาบุคคลมาค้า ประกันเพื่อขอกู้ยืมเงิน กาหนดระยะเวลาการคืนเงิน และการเข้าถึงเงินกองทุนผู้สูงอายุ ดังนี้ 1. ปัญหาการกู้ยืมเงินของผู้สูงอายุที่ให้มีบุคคลค้าประกัน ต้องมีคุณสมบัติและมีบุคคลที่ น่าเชื่อถือตามที่ผู้อานวยการสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และ ผู้สูงอายุกาหนดให้มีบุคคลเข้าค้าประกันการกู้ยืมเงินจากกองทุนดังกล่าว ข้อ 3(4) ตามประกาศคณะ กรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ เรื่องหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจาก กองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2549 ซึ่งการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุกาหนดเงื่อนไขไว้ว่า ต้องมีบุคคลค้า ประกันที่มีอายุไม่เกิน 59 ปี เป็นผู้มีรายได้หรืองานประจา มีภูมิลาเนาตามทะเบียนราษฎร์อยู่จังหวัด เดียวกันกับผู้กู้ยืม ไม่อยู่ระหว่างเป็นผู้กู้ยืมหรือไม่อยู่ระหว่างเป็นผู้ค้าให้กับบุคคลอื่นที่ขอกู้ยืม ซึ่งเป็น การกาหนดเงื่อนไขที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพขอ ง ผู้สูงอายุเป็นการยากที่จะหาบุคคลใดมาเป็นผู้ค้าประกันให้กับผู้สูงอายุในการขอกู้ยืมเงินจากกองทุน จึงส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนผู้สูงอายุได้ หากพิจารณาถึงนโยบายของพรรคการเมืองที่หาเสียงในปี พ.ศ.2566 ได้กาหนดโยบายเกี่ยวกับ กองทุนผู้สูงอายุไว้ เช่น พรรคการเมืองที่หนึ่งให้กองทุนประกันชีวิต 20,000 บาท โดยไม่ต้องมีผู้ค้า ประกัน และใช้กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่รัฐบาลจัดทาให้ ค้าประกันตัวเองเพื่อไม่เป็นภาระของลูกหลาน และมีสิทธิกู้เงินเพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ส่วนพรรคการเมืองที่สอง กาหนด นโยบาย “ชมรมผู้สูงอายุ รับ 30,000 บาท ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ขยายครอบคลุมมิติอื่นๆ เพิ่มมาก ขึ้น เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพหลังวัยเกษียณ ซึ่งนโยบายของ พรรคการเมืองดังกล่าวได้เล็งเห็นถึงความสาคัญของกองทุนส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ (ไทยรัฐออนไลน์, 2566) ดังนั้น จาเป็นต้องศึกษาถึงการลดเงื่อนไขค้าประกันเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึง กองทุนการประกอบอาชีพได้ง่ายและสะดวกอันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีและสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามเจตนารมณ์ของกองทุนผู้สูงอายุ 2.ปัญหากาหนดระยะเวลาคืนเงินกู้ยืมแก่กองทุนผู้สูงอายุ ตามประกาศคณะกรรมการบริหาร กองทุนผู้สูงอายุฯ พ.ศ.2549 ข้อ 5 (3) กาหนดให้ผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนมีหน้าที่ชาระเงินคืนรายงวด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ยนั้น เป็นการกาหนดระยะเวลาที่น้อยเกินไป อาจส่งผล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3