2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
4 กระทบต่อการชาระเงินกู้ยืมคืนให้แก่กองทุน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับการชาระเงินคืนของ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้อ 11 ที่กาหนดให้ผ่อนชาระเงินกู้ยืมเงินภายใน 5 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ยตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฯ พ.ศ. 2552 เห็นว่ากองทุนคนพิการและกองทุนผู้สูงอายุต่างมีเป้าหมายให้กู้ยืมเงินกองทุนไปประกอบ อาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองเหมือนกัน แต่กลับกาหนดระยะเวลาการชาระเงินกู้ยืมคืนกองทุนที่ แตกต่างกัน เมื่อคานวณการกู้ยืมเงินรายละ 30,000 บาท มีระยะเวลาชาระคืนเงินกู้ไม่เกิน 3 ปี เดือน ละประมาณ 834 บาท (36 เดือน) ด้วยภาวะเศรษฐกิจและวิกฤตทางด้านโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคโควิด 19 และโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่พลิกผัน ไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด เห็นได้จาก การที่โรคโควิด19 ทาให้ผู้คนไม่สามารถประกอบกิจการค้าขายได้เป็นเวลา 2 ปี จาเป็นต้องหา แนวทางกาหนดระยะเวลาการคืนเงินกู้ยืมให้แก่กองทุนผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในสังคม 3.ปัญหาการเข้าถึงเงินกู้ยืมกองทุนผู้สูงอายุ แม้ว่าจะมีการจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุเพื่อเป็นการ ส่งเสริม สนับสนุนเงินให้ผู้สูงอายุนาไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้หาเลี้ยงตนเองก็ตาม แต่จาก สถิติการกู้ยืมเงินกองทุนผู้สูงอายุในปีพ.ศ.2565 พบว่ามีผู้ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินจานวน 1,965 ราย และในปีพ.ศ.2566 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน มีผู้ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินจานวน 2,093 ราย เห็นได้ว่ามีจานวนที่ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงินน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจานวนประชากรผู้สูงอายุ ที่มีอยู่ 12 ล้านคน อาจเป็นเพราะว่าผู้สูงอายุส่วนมากยังไม่ทราบถึงแหล่งกองทุนเงินกู้ยืมสาหรับ ผู้สูงอายุ ที่สามารถกู้เงินนาไปประกอบอาชีพได้ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบทที่ ห่างไกลจากตัวเมืองจึงไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ และ ความสามารถในการประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ ไม่รับรู้ถึงสิทธิของตนในการกู้ยืมเงินกองทุน ผู้สูงอายุ กระทบต่อการสร้างรายได้ในการดารงชีวิตหาเลี้ยงชีพ อีกทั้งการไม่มีรายได้ ทาให้ผู้สูงอ ายุ รู้สึกว่าตนไม่มีคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุที่ว่าตนเป็นภาระที่ต้องพึ่งพาบุตรหลานใน การดารงชีพ จากสภาพปัญหาของกองทุนผู้สูงอายุที่กาหนดเงื่อนไขให้มีบุคคลค้าประกัน การกาหนด ระยะเวลาคืนเงินกู้ยืมแก่กองทุนผู้สูงอายุ และการเข้าถึงเงินกู้ยืมกองทุนผู้สูงอายุนั้น ยังไม่สอดคล้อง กับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 71 วรรคสาม รัฐพึงให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถดารงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) ให้ความสาคัญกับ การสร้างรายได้และประกอบอาชีพเพื่อให้มีหลักประกันในการดารงชีวิต และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทุนมนุษย์ ซึ่งกองทุนผู้สูงอายุที่ ให้กู้ยืมเงินเพื่อการประกอบอาชีพถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้สูงอายุสามารถ พึ่งพาตนเองได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยสนใจศึกษา เรื่องการพัฒนากฎหมายกองทุนการประกอบอาชีพผู้สูงอายุกับการ พึ่งพาตนเอง โดยการศึกษานี้ทาให้รู้ถึงปัญหากองทุนผู้สูงอายุที่กาหนดเงื่อนไขให้มีบุคคลค้าประกัน การกาหนดระยะเวลาคืนเงินกู้ยืมแก่กองทุนผู้สูงอายุ และการเข้าถึงเงินกู้ยืมกองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งจะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3