2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
9 ดังนั้น การพึ่งพาตนเองเป็นการให้บุคคลได้ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความสามารถของ ตน และเป็นการเสริมสร้างแรงงานให้ดารงชีวิตได้ด้วยตนเอง แนวคิดการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ (สุคี ศิริวงศ์, 2556) ได้กาหนดไว้ 4 ด้าน ดังนี้ 1) การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุด้านร่างกาย คือ การที่ผู้สูงอายุพยายามดูแลใส่ใจตนเอง ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย อาหาร ค่าใช้จ่าย รวมถึงการดูแลสุขภาพตนเองให้ แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการออกกาลังกาย การทากิจวัตรปะจาวันให้เป็นปกติ การระมัคระวังไม่ให้เกิด อุบัติเหตุกับร่างกาย 2) การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุด้านจิตใจ คือ การที่ผู้สูงอายุสามารถดูแลสภาวะทาง อารมณ์ของตนเองให้มีความเป็นปกติ ไม่หวาดวิตกกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่คาดหวัง ไม่กังวล ไม่ทุกข์ใจ หรืออ่อนไหวมากเกินไป มีความภูมิใจในการดูแลตนเอง และเป็นที่พึ่งของลูกหลานหรือคนรอบข้าง 3) การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุด้านสังคมคือ การที่ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองให้อยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข โดยเริ่มจากความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว และชุมชน และสามารถเข้า ร่วมกิจกรรม พบปะพูดคุย การบริจาค รวมถึงการเข้าร่วมประเพณีต่าง ๆ ที่ชุมชนจัดขึ้นให้ 4) การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุด้านเศรษฐกิจ คือ ความสามารถของผู้สูงอายุที่สามารถ จัดการกับภาวะทางการเงินของตนเอง การควบคุมการใช้จ่าย การพยายามหารายได้เพิ่มตาม ศักยภาพ การวางแผนทางการเงินที่ได้ผ่านการทบทวนอย่างรอบคอบที่เพียงพอสาหรับการดาเนิน ชีวิตประจาวันที่ไม่เดือดร้อนคนรอบข้าง สรุปได้ว่า การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุคือ การที่ผู้สูงอายุที่มีความรู้ ความสามารถ ตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังคงมีร่างกายที่แข็งแรง มีความสามารถที่จะประกอบ อาชีพได้เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตโดยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีคุณภาพชีวิตที่ดี และยังเป็นการส่งเสริม สุขภาพร่างกาย จิตใจ สังคม การเงินของผู้สูงอายุ โดยไม่เป็นภาระต่อผู้อื่น 2.1.2 แนวคิดการเห็นคุณค่าในตนเอง การเห็นคุณค่าในตัวเอง เตือนใจ ทองคา กล่าวว่า ความรู้สึกที่แต่ละบุคคลมีต่อตนเอง เป็นการรับรู้เกี่ยวกับคุณค่าของตนเอง การรับรู้จะนามาซึ่งความรู้สึกมั่นคง และมีความสุข โดยเกิด จากประสบการณ์ในการเป็นที่รักหรือที่ต้องการของบุคคลใกล้ชิด ซึ่งคนที่เห็นค่าในตนเองจะเป็นคนที่ สามารถให้ความรักต่อบุคคลอื่น ประสบความสาเร็จในชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน มีความมั่นคงใน ตัวเอง และมีความรู้สึกเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพาหรือหาที่ยืดเหนี่ยว (เตือนใจ ทองคา, 2549) ส่วนสมิทธ์ เจือจินดา และวรรณนภา โพธิ์ผลิ กล่าวว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง คือ การพิจารณาตัดสินค่าตนเอง ตามความรู้สึก และทัศนคติที่มีต่อตนเองทั้งด้านดีและด้านไม่ดีในเรื่องต่าง ๆ เช่น การพึ่งพาตนเอง การประสบความสาเร็จ เชื่อว่าตนเองมีคุณค่า มีความรู้ ความสามารถ โดยดูจากการตอบสนองของ คนรอบข้าง หรือจากการประเมินความสามารถและการประสบความสาเร็จในการทางาน การ สามารถทาสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้ (สมิทธิ์ เจือจินดา และ วรรณนภา โพธิ์ผลิ, 2562) 2.1.3 แนวคิดผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ความหมายของ "ผู้สูงอายุ" ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 หมายความว่า บุคคล ซึ่งมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3