2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
10 ผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีการแบ่งเกณฑ์ผู้สูงอายุตามสภาพของการมีอายุ เพิ่มขึ้นในลักษณะของการแบ่งช่วงอายุของประเทศไทยดังนี้ ผู้สูงอายุ (Elderly) คือ อายุระหว่าง 60 - 69 ปี คนชรา (Old) คือ อายุระหว่าง 70 - 79 ปี คนชรามาก (Very old) คือ อายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป ส่วนคาว่า "สังคมผู้สูงอายุ" องค์การสหประชาชาติ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับการก้าว เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing society หรือ Aging society) ระดับสังคมผู้สูงอายุโดย สมบูรณ์ (Aged society) และระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super - aged society) โดยให้นิยามของ ระดับต่างๆ ซึ่งทั้งประเทศไทยและรวมทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลกใช้ความหมายเดียวกันในนิยามของทุกระดับ ของ สังคมผู้สูงอายุ ดังนี้ 1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) คือ สังคมหรือประเทศที่มี ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของ ประชากรทั้งประเทศ ประเทศนั้นจึงกาลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) คือ สังคมหรือประเทศที่มีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ 3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) คือ สังคมหรือประเทศที่มี ประชากร อายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ 20 องค์การสหประชาชาติ ได้ให้นิยามว่า "ผู้สูงอายุ" คือ ประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งมีอายุ มากกว่า 60 ปีขึ้นไปโดยเป็นการนิยามนับตั้งแต่อายุเกิด ส่วนองค์การอนามัยโลกยังไม่มีการ ให้นิยามผู้สูงอายุ โดยมีเหตุผลว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีการนิยามผู้สูงอายุต่างกัน ทั้งนิยาม ตามอายุ เกิด ตามสังคม วัฒนธรรม และสภาพร่างกาย เช่น ในประเทศที่เจริญแล้วมักจัดผู้สูงอายุ นับจากอายุ 65 ปีขึ้นไปหรือบางประเทศอาจ นิยามผู้สูงอายุตามอายุกาหนดให้เกษียณงาน (อายุ 50 หรือ 60 หรือ 65 ปี) หรือนิยามตามสภาพของร่างกาย โดยผู้หญิงสูงอายุอยู่ในช่วง 45 - 55 ปี ส่วนชายสูงอายุอยู่ ในช่วง 55 - 75 ปี (นันทนัช บุญวัฒน์ และดวงพร อุไรวรรณ, 2562) จึงสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุ คือบุคคล ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ (Active Ageing) คาว่า “ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ” (Active Ageing) ได้นาเสนอโดยองค์การอนามัยโลก เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาประชากรสูงอายุที่กาลังเพิ่ม มากขึ้นในอนาคต โดยได้กาหนดแนวคิดผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ (Active Ageing) ว่าเป็นกระบวนการที่ นาไปสู่สุขภาวะที่ดี (Health) การมีส่วนร่วม (Participation) และหลักประกันที่มั่นคง (Security) เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเมื่อสูงวัย และให้ประชากรตระหนักถึงสุขภาวะด้าน ร่างกาย สังคม จิตใจ ตลอดจนวิถีชีวิตและการมีส่วนร่วมทางสังคม ในขณะเดียวกัน ควรมีหลักประกัน หรือความมั่นคงและ การดูแลประชาชนเมื่อประชาชนต้องการด้วย โดยคาว่า “Active” ตามนัยของ องค์การอนามัยโลก ครอบคลุมมิติต่างๆ ทุกด้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของผู้สูงอายุใน ด้านกิจกรรมทาง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม จิตวิญญาณและกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ไม่ใช่แค่ความสามารถทาง ร่างกายที่จะใช้แรงงานเท่านั้น ดังนั้นผู้สูงอายุที่เกษียณจากงาน เจ็บป่วย หรือ พิการสามารถมีส่วน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3