2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

11 ร่วมกับครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้ นอกจากนี้ ยังให้ความหมายของคาว่า “Health” คือ ความเป็นอยู่ที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม การดูแลตัวเองในชีวิตประจาวันและการมีอิสระ สามารถพึ่งพาตัวเองได้ของผู้สูงอายุเป็นเป้าหมายสาคัญในการวางกรอบนโยบายสาหรับการเป็น ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ (Active Ageing) องค์การอนามัยโลกเสนอ แนวคิดนี้ให้แก่ประเทศต่างๆ เพื่อ นาไปใช้พัฒนาประชากรสูงอายุให้มีสุขภาพดี มีความตระหนักในคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในการ ดาเนินชีวิต มีความสามารถในทางสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนมีศักยภาพที่จะพึ่งพิงตนเองเท่าที่จะ ทาได้ และใช้ความสามารถนั้นช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว บุคคล อื่น และสังคม (World Health Organization, 2002) สาหรับความหมายของคาว่า “การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ” นั้น ได้มีผู้ให้ความหมายที่ แตกต่างกัน ศศิพัฒน์ ยอดเพชร ได้กล่าวถึงผู้สูงอายุที่มีศักยภาพว่า ครอบคลุมลักษณะผู้สูงอายุที่ ประสบความสาเร็จ (Successful Ageing) โดยเป็นผู้ที่ดารงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม สอดคล้อง กับความพึงพอใจ และความปรารถนาของตัวเองกับการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ (Productive Ageing) เป็นความสามารถในการพึ่งพาตนเองเท่าที่จะทาได้ของผู้สูงอายุ และการใช้ความสามารถ ส่วนตัวในทางสร้างสรรค์ให้แก่ทั้งตนเอง ครอบครัว และบุคคลอื่นในสังคม แนวคิดเรื่องผู้สูงอายุที่มี ศักยภาพของ ศศิพัฒน์ ยอดเพชร มีลักษณะครอบคลุมทั้งผู้สูงอายุที่ประสบความสาเร็จและผู้สูงอายุที่ ยัง คุณประโยชน์ นั่นคือ เป็นผู้ที่ดารงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความพึงพอใจและ ความปรารถนาของตนเองกับการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและความสามารถในการพึ่งตนเองเท่าที่จะ ทาได้ของผู้สูงอายุ ตลอดจนการใช้ความสามารถส่วนตัวในทางสร้างสรรค์ให้แก่ทั้งตนเอง ครอบครัว และบุคคลอื่นในสังคม (ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ, 2555) และ เพ็ญนรินทร์ สาตรจาเริญ กล่าวว่า ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ เป็นผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองได้ (Self-care) พี่งพาตนเองได้ (Self-reliance) สามารถทาสิ่งต่าง ๆ ได้ตามศักยภาพของตนเอง ทาประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม มี ความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ มีการเตรียมพร้อมสาหรับการเปลี่ยนแปล งที่จะมาถึงและใช้ ความสามารถส่วนตัวในทางสร้างสรรค์ให้แก่ตนเอง ครอบครัว บุคคลอื่น และสังคม อีกทั้งยังให้ ความหมายของคาว่า Active aging ว่า ผู้สูงอายุที่ยังมีประโยชน์ (เพ็ญนรินทร์ สาตรจาเริญ, 2549) ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ คือ ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตนเอง มีความสามารถในการพึ่งพา ตนเองได้ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคม (เพ็ญนรินทร์ สารทจาเริญ, 2549) 2.1.4 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ก่อนเกษียณงาน ผู้สูงอายุมีภาระหน้าที่ที่ต้องแบกไว้แต่เมื่อเกษียณการได้ทางานกลับเป็น ความรู้สึกตรงข้ามการทางานกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งได้รับการยอมรับให้ทางานต่อกลายเป็นสิ่งที่ ผู้สูงอายุโหยหาเพราะการทางานทาให้บุคคลมีความมั่นคง เมื่อผู้สูงอายุปลดเกษียณหรือการออกจาก งาน หากเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยการที่ผู้สูงอายุค่อยๆถอยตัวเองออกจากงาน และเป็นไปด้วยความสมัครใจจะมีผลทางด้านจิตสังคมไม่มากนักแต่ในทางตรงกันข้ามหากเกิดขึ้นแบบ ทันทีทันใดหรือบุคคลนั้นยังยึดติดกับงานจะทาให้บุคคลปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียดไม่มีความสุข และเกิดความรู้สึกสูญเสียได้ (สุจริต สุวรรณชีพ, 2554) ซึ่งอธิบายได้ ดังนี้ 1) สูญเสียสถานภาพและบทบาททางสังคมจากที่เคยเป็นบุคคลที่มีบทบาทและตาแหน่ง ต่างๆมากมายเป็นผู้นา มีคนเคารพนับถือในสังคม เปลี่ยนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม มีบทบาท

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3