2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
12 ลดลงทา ให้สูญเสียความมั่นคงของชีวิตและรู้สึกว่าตนเองหมดความสาคัญในสังคม อยู่ในสภาวะที่ไร้ คุณค่าสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง ทาให้ผู้สูงอายุมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อตนเอง ( Poor Self- Image) หรือรู้สึกว่าตนเองกาลังเริ่มเป็นภาระของครอบครัว 2) สูญเสียการสมาคมกับเพื่อนฝูง เมื่อปลดเกษียณโอกาสที่ผู้สูงอายุจะสมาคมกับเพื่อนฝูง ลดลง เนื่องจากปัญหาทางด้านร่างกายเช่น มีโรคประจาตัวทา ให้ช่วยตนเองได้น้อยการเคลื่อนไหว เชื่องช้าทาให้ไม่สะดวกในการเดินทาง เป็นต้น นอกจากนี้ปัญหาทางด้านจิตใจและการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจก็มีส่วนทา ให้ผู้สูงอายุสมาคมกับเพื่อนฝูงลดลง 3) สูญเสียสภาวะทางการเงินที่ดีเนื่องจากขาดรายได้หรือรายได้ลดลง ขณะที่ค่าครองชีพ กลับสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจทา ให้ผู้สูงอายุมีปัญหาในการดารงชีพคู่มือ “ความสุข 5 มิติสาหรับผู้สูงอายุ” แบบแผนการดา เนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเพราะไม่ต้องออกจากบ้านไปทา งานทาให้ผู้สูงอายุต้อง ปรับเปลี่ยนแบบแผนการดา เนินชีวิตของตนเองใหม่ ขาดความคุ้นเคย เกิดความรู้สึกอึดอัดใจ เกิด ความเครียด 4) การเปลี่ยนแปลงของสังคมครอบครัว ปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมเดี่ยวมากขึ้น เมื่อลูก โตขึ้นก็จะแต่งงานแยกครอบครัวออกไป หรือในชนบทก็จะออกไปประกอบอาชีพต่างถิ่น ทา ให้ ผู้สูงอายุต้องอยู่กันตามลา พังถูกทอดทิ้งและขาดที่พึ่ง โดยเฉพาะในรายที่ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ปัญหาของผู้สูงอายุก็จะมีมากขึ้น นอกจากนี้การตายจากไปของคู่ครองจะทา ให้ผู้สูงอายุที่ยังมีชีวิต ต้องประสบกับความเหงาที่ค่อนข้างรุนแรง หรือการตายจากของคนวัยเดียวกันทา ให้รู้สึกหดหู่ เศร้า หมอง รวมทั้งขาดรายได้ (ในเพศหญิง) หรือขาดคนปรนนิบัติ (ในเพศชาย) และขาดการตอบสนอง ทางเพศ ประกอบกับผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีความผูกพันกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย และสังคมชุมชนที่ เคยชิน ไม่อยากเปลี่ยนแปลงหรือลดบทบาทตัวเองจากหัวหน้าครอบครัวไปเป็นสมาชิกครอบครัวจึง ไม่อยากจากบ้านไปอยู่รวมกับครอบครัวของลูกหลาน ซึ่งอาจเกิดปัญหาการไม่ให้เกียรติกัน ขาดความ เคารพนับถือ ขาดความสนใจ และเกื้อกูลต่อกัน ดังนั้นผู้สูงอายุจึงจาเป็นต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้น ใน รายที่ไม่สามารถทา ได้และจา เป็นต้องพึ่งพาผู้อื่นอาจทา ให้เกิดความกดดันทางด้านจิตใจ เกิด ความรู้สึกเหงา ว้าเหว่ เดียวดาย และไม่มีศักดิ์ศรี (ศรีเรือน แก้วกังวาน, 2553) 5) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไทย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจาก สังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ความเจริญ ก้าวหน้ามีมากขึ้น ปัจจุบันมโนทัศน์ของคนส่วน ใหญ่ต่อผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไป คนส่วนใหญ่ยึดถือด้านวัตถุนิยม วัดคุณค่าของคนโดยอาศัย ความสามารถในการทา งานหาเงิน ดังนั้นลูกหลานเริ่มมีเจตคติต่อผู้สูงอายุเปลี่ยนไปผู้สูงอายุมีคุณค่า ลดลงเพราะไม่ต้องพึ่งพาการถ่ายทอดความรู้อาชีพ และประสบการณ์เหมือนในอดีต ทาให้ผู้สูงอายุถูก มองว่าขาดคุณค่า ขาดความสามารถ มีความคิดไม่ทันสมัย สุขภาพอ่อนแอ ทา ให้ผู้สูงอายุเกิด ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย กลายเป็นคนที่ต้องอาศัยผู้อื่นมากขึ้น อย่างไรก็ตามภาวะเหล่านี้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของผู้สูงอายุแต่ละรายในการเผชิญกับปัญหา ปรัชญาในการดา เนินชีวิตความเชื่อ ความหวังความรู้สึกมีคุณค่ามีศักดิ์ศรีของตนเองและความรู้สึกปลอดภัยในสังคม ในรายที่แรงกดดัน มากๆ และไม่สามารถปรับตัวได้บุคลิกภาพจะเสียไป กลายเป็นภาระต่อสังคม ก่อให้เกิดปัญหาทางจิต อาจทา ร้ายตัวเอง และผู้อื่นได้ (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2558)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3