2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

13 สรุปได้ว่า การปลดเกษียณหรือการออกจากงานจึงเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ทั้ง ทาให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าไม่มีคุณค่า ไม่มีศักดิ์ศรี ไม่สามารถพึ่งพาตนเอง และไม่ได้แสดงถึงความสามารถ หรือศักยภาพของตนเอง แต่การที่ผู้สูงอายุได้ประกอบอาชีพอยู่นั้น ทาให้รู้สึกประสบความสาเร็จใน ชีวิตในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านความสามารถของตนเอง หน้าที่การงาน มีความมั่นคงการเงิน ทาให้ สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่เป็นภาระผู้อื่น จะทาให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังคงมีศักยภาพในการใช้ ชีวิต และมีคุณค่า 2.2 แนวคิดรัฐสวัสดิการผู้สูงอายุ แนวคิดรัฐสวัสดิการผู้สูงอายุ อภิชัย พันธ์เสน และวัฒนชัย วินิจจะกูล (อภิชัย พันธ์เสน และ วัฒนชัย วินิจจะกูล, 2521) กล่าวว่ารัฐสวัสดิการ คือการที่รัฐพยายามจัดหาสวัสดิการให้กับประชาชน ให้มากที่สุด หมายความว่าประกันมาตรฐานขั้นต่าของประชาชนให้มีการกินดีอยู่ดี ตั้งแต่การเลี้ยงดู บุตร การให้บริการทางด้านการศึกษา การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วย และที่สาคัญ ให้ความช่วยเหลือเมื่อไม่มีรายได้ เนื่องจากไม่มีงานทา ดังนั้น หากเป็นผู้พิการไร้ความสามารถ เป็น บุคคลที่ไม่มีผู้ใดดูแล รัฐบาลจะเข้ามาช่วย แม้กระทั่ง single parent ซึ่งหมายถึงแม่ที่เลี้ยงดูลูกโดยไม่ มีสามี หรือพ่อที่เลี้ยงลูกโดยไม่มีภรรยา รัฐบาลก็จะช่วยเหลือในการแบ่งเบาภาระ ปกรณ์ อังศุสิงห์ กล่าวว่า รัฐสวัสดิการ คือ การที่ประเทศมีนโยบายส่งเสริมความอยู่ดีกินดีแก่ ประชาชนอย่างกว้างขวาง อีกทั้งมีโครงการป้องกันและวางหลักประกันให้แก่ประชาชน สามารถมี บริการที่จาเป็นและเพียงพอที่จะดารงชีพต่อไปได้ (ปกรณ์ อังศุสิงห์, 2521) ส่วน M. Weir, in กล่าวว่า รัฐสวัสดิการ คือ รัฐที่มุ่งมั่นที่จะให้หลักประกันทางเศรษฐกิจขั้น พื้นฐานแก่พลเมือง โดยปกป้องพวกเขาจากความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับวัยชรา การว่างงาน อุบัติเหตุ และความเจ็บป่วย (M. Weir, 2001) โดยคาว่า “รัฐสวัสดิการ” เกิดขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมามีการใช้คานี้อย่างกว้างมากขึ้นเพื่ออธิบายระบบสวัสดิการสังคมที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ ศตวรรษที่ 19 ในส่วนรูปแบบของรัฐสวัสดิการ L. Staeheli, in (2001) กล่าวว่า แนวคิดและความ เชื่อเกี่ยวกับสวัสดิการและบทบาทของรัฐในการตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจได้หล่อหลอม รูปแบบของการจัดสวัสดิการ 3 ประการ ดังนี้ (L. Staeheli, in, n.d.) 1.รัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและกาลังแรงงาน สวัสดิการ มากมาย เช่น ประกันสุขภาพ และเงินบานาญเชื่อมโยงกับการจ้างงาน หรือใช้เพื่อกาหนดคุณสมบัติ สาหรับบริการของรัฐ และมอบสิทธิประโยชน์ที่ค่อนข้างพอประมาณสาหรับผู้ที่ถือว่ามีสิทธิ 2.รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษ์นิยม เป็นการพึ่งพาบริการของรัฐ มากกว่าการจัดหาจากตลาดหรือ ภาคเอกชน รัฐเหล่านี้มักจะแสดงอุดมคติเชิงบรรทัดฐานของครอบครัวนิที่มีลักษณะที่ผู้ชายหาเลี้ยง ครอบครัวและผู้หญิงที่ดูแลครอบครัว 3.รัฐสวัสดิการสังคมและประชาธิปไตย เป็นการส่งเสริมวิสัยทัศน์ของรัฐในฐานะผู้ค้าประกันสิทธิ ทางสังคม รัฐเหล่านี้ส่งเสริมความเท่าเทียมกันของผลประโยชน์ในระดับสูงเพื่อลดผลกระทบของชน ชั้นทางสังคมและรายได้ สวัสดิการถูกใช้เพื่อทาให้ความสามารถของพลเมืองทุกคนเท่าเทียมกัน โดย ไม่คานึงถึงรายได้ ให้มีส่วนร่วมในชุมชนทาง การเมือง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3