2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

14 ในเรื่องสวัสดิการของผู้สูงอายุ รัฐควรมุ่งให้ผู้สูงอายุมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม กล่าวคือผู้สูงอายุนั้น เป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี (Quality of Life) (โอฬาร์ ปัญญปิติพัฒน, 2565) ได้กล่าวถึงการปฏิบัติต่อ ผู้สูงอายุประกอบด้วยแนวคิด 2 ประการ 1. แนวคิดด้านมนุษยธรรม (Humanitarian Aspect of Aging) หมายถึง ผู้สูงอายุควรได้รับการ ช่วยตามหลักมนุษยธรรมและความต้องการในด้านสุขภาพอนามัยละโภชนาการ ที่อยู่อาศัยและ สภาพแวดล้อมครอบครัว สวัสดิการสังคมทางรายได้และการจ้างงาน รวมถึงการศึกษา 2. แนวคิดด้านพัฒนา (Developmental Aspect of Aging) หมายถึง แนวคิดที่มีต่อบทบาท ของผู้สูงอายุในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หลักการจัดบริการสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ นั้นมีความชัดเจนและเริ่มเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องในสังคมมากขึ้น สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้รับรองหลักการ 17 ประการสาคัญ เป็นหลักสาคัญในการกาหนดแนวทางในการจัดบริการให้แก่ ผู้สูงอายุ ดังนี้ หลักการที่ 1 การมีเสรีภาพ คือ ผู้สูงอายุควรได้รับอาหาร น้า ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และการดูแลสุขภาพอนามัยอย่างพอเพียงโดยการมีรายได้ การสนับสนุนของครอบครัวและชุมชน โดยผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสในการทางานหรือสามารถได้รับรายได้อื่นๆ ควรมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจว่าเมื่อใดจะต้องพ้นจากการทางาน ควรได้รับการฝึกอบรมและการศึกษาตามความเหมาะสม ควรที่จะได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบปลอดภัยด้วยความพึงพอใจ และควรที่จะได้อยู่ในบ้านของ ตนเอง ตลอดระยะเวลาเท่าที่เป็นไปได้ หลักการที่ 2 การมีส่วนร่วม กล่าวคือ ผู้สูงอายุควรได้มีส่วน ร่วมในการกาหนดและดาเนินงานตามนโยบายต่างๆ ที่จะส่งผลโดยตรงความเป็นอยู่ที่ดีของตนและ สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้กับชุมชนรุ่นหลังได้ ควรที่จะได้รับการพัฒนาโอกาสต่าง ๆ เพื่อ ให้บริการแก่ชุมชนและเป็นอาสาสมัครในตาแหน่งที่เหมาะสมตามความสนใจและกาลังความสามารถ ของผู้สูงอายุนั้น และควรมีบทบาทที่จะจัดตั้งกลุ่มหรือสมาคมของผู้สูงอายุเองได้ หลักการที่ 3 การ ได้รับการดูแล โดยผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลจากครอบครัว ชุมชน และได้รับการดูแลคุ้มครอง ส่งเสริมทางด้านสังคมและจิตใจ อย่างเหมาะสมจากสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่มีสภาพแวดล้อมที่ มั่นคง อีกทั้งด้านสุขภาพอนามัยเพื่อให้ได้รับการฟื้นฟูร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการ ป้องกันและชะลอการเจ็บป่วยในระยะเริ่มต้น ผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสในการเข้าถึงบริการทางสังคม กฎหมาย สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการดารงชีวิต เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการ เป็นอิสระ การคุ้มครอง และการได้รับการดูแล หลักการที่ 4 การบรรลุความพึงพอใจ คือการที่ ผู้สูงอายุได้รับโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็ม ได้รับโอกาสในการศึกษา วัฒนธรรม และ กิจกรรมนันทนาการ หลักการที่ 5 ความมีศักดิ์ศรี ผู้สูงอายุควรที่จะดารงชีวิตอยู่ด้วยศักดิ์ศรีและความ ปลอดภัย โดยปราศจากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ ถูกทาร้ายร่างกาย จิตใจ ควรได้รับการปฏิบัติ อย่างเหมาะสมตามสภาพและภูมิหลังและมีอิสระในการช่วยเหลือตนเองทางด้านเศรษฐกิจ สรุปได้ว่า รัฐควรมุ่งให้ผู้สูงอายุมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ การจัดบริการสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุนั้นมีความชัดเจนและเริ่มเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องในสังคม มากขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3