2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

19 ความต้องการทางสังคมเหมือนบุคคลในวัยกลางคน ทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้สูงอายุมีความต้องการเข้าร่วม กิจกรรมเพื่อความสุขและการมีชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับวันผู้ใหญ่ และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนเอง สนใจได้ อีกทั้งแนวคิดนี้ยังหมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ นอกเหนือจากกิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติต่อตนเ อง นั่นคือกิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติต่อเพื่อนฝูง สังคม หรือชุมชน ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้สูงอายุปฏิบัติจะทา ให้รู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ทฤษฎีนี้เป็นการมีกิจกรรมต่อสังคมผู้สูงอายุ จะมีความสัมพันธ์ทางบวกและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ การมีกิจกรรมที่เหมาะกับวัย ผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่จาเป็นและมีคุณค่าอย่างยิ่ง การจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ (ภาณุ อดกลั้น, 2555) เลิศวัลลภ ศรีษะพลภูสิทธิ และ ธมนพัชร์ ศรีษะพลภูสิทธิ กล่าวว่า ทฤษฎีกิจกรรมเป็นทฤษฎี ที่เชื่อว่าผู้สูงอายุจะมีชีวิต เป็นสุขได้นั้น ควรมีกิจกรรมทางสังคมตามสมควร หรือมีกิจกรรมตาม บทบาทของตนเองที่ดารงอยู่ เช่น การมีงานอดิเรกทาหรือการเป็นสมาชิกกลุ่มสมาคม นอกจากนี้ยัง เชื่อว่า ผู้สูงอายุจะมีความสุข ความพึงพอใจในชีวิตเมื่อได้ทากิจกรรมต่อเนื่องจากที่เคยทามาในอดีต จนเป็นวิถีชีวิตในปัจจุบันสาหรับกิจกรรมนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมที่ไม่มีรูปแบบ (Informal activity) มีลักษณะเป็นกิจกรรมของผู้สูงอายุ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นทั้งในครอบครัวและ สังคม ไม่มีการกาหนดรูปแบบเวลา การปฏิบัติที่แน่นอน ชัดเจน กิจกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ ปฏิบัติร่วมกับสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดอื่น เช่น ญาติ เพื่อน เพื่อนบ้าน เป็นกิจกรรมที่อาจ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพกาย จิต สังคม มีพื้นฐานมาจากพฤติกรรมที่ช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน นอกจากนี้ระยะทางความใกล้ชิดกันในเรื่องบ้าน ที่อยู่อาศัยมีผลต่อการร่วมกิจกรรม กล่าวคือ คนที่อาศัยอยู่บ้านใกล้กันจะมีกิจกรรมร่วมกันมากกว่า คนที่อาศัยอยู่บ้านที่ห่างไกลกัน มีการ นัดพบสังสรรค์กัน มีกิจกรรมนันทนาการในกลุ่มเดิมเสมอ มีการท่องเที่ยวร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการ ทางานฝีมือเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของครอบครัว กิจกรรมที่ไม่มีรูปแบบนี้ให้ประโยชน์ทั้งผู้สูงอายุ และครอบครัว กิจกรรมที่มีรูปแบบ (formal activity) เป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุเข้าร่วมในองค์กร เช่น สมาคม ชมรมหรือกลุ่มต่าง ๆ รูปแบบของกิจกรรมจะชัดเจน ซึ่งอาจกาหนดโดยผู้สูงอายุเอง หรือ เจ้าหน้าที่ในองค์กรนั้น ๆ เป็นกิจกรรมภายนอกครอบครัวซึ่งผู้สูงอายุจะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นใน สังคม และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กรนั้น ๆ กิจกรรมต่าง ๆ ถูกจัดขึ้นเพื่อประโยชน์โดยตรงต่อผู้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุบางแห่ง กาหนดกิจกรรมที่ผู้สูงอายุให้ความสนใจร่วมด้วยมาก เช่น กิจกรรมนันทนาการบาบัด ( Recreation therapy) กิจกรรมทางศาสนา (Religion therapy) กิจกรรมอาสาสมัคร (Volunteering) กิจกรรม การออกกาลังกาย (Physical exercise) เป็นต้น ส่วนกิจกรรมที่ทาตามลาพังหรือทาคนเดียว (Solitary) เป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุสามารถทาได้ตามลาพัง โดยธรรมชาติบุคคลอาจจะต้องการเวลา เพื่ออยู่คนเดียวตามลาพังอย่างสงบ และทากิจกรรมที่ตนเองสนใจ พอใจ อย่างเงียบ ๆ เช่น การ ทางานอดิเรก การนอนพักผ่อน เป็นต้น ผู้สูงอายุจะได้ประโยชน์ ความสุข สบาย และความ เพลิดเพลิน (เลิศวัลลภ ศรีษะพลภูสิทธิ และธมนพัชร์ ศรีษะพลภูสิทธิ, 2561) ตัวอย่างทฤษฎีกิจกรรมในผู้สูงอายุ เช่น การได้ศึกษาหรือได้อบรมความรู้เพิ่มเติม การรักษา ความสัมพันธ์ทางสังคม อาจรวมถึงการเต้นรา การร้องเพลง หรือการออกไปเที่ยวกับเพื่อนและญาติ การไปเที่ยวพักผ่อน การหางานอดิเรกใหม่ ๆ หลังเกษียณ งานอาสาสมัคร การได้ออกกาลังกายอย่าง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3