2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

28 นาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการผลิตและการบริการของประเทศจะเป็นความท้าทาย สาคัญใน ระยะต่อไป เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์“ประเทศไทยมี ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจาเป็นต้องกาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศระยะยาว ที่จะทาให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัย ภายในและภายนอกประเทศในทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ ให้ได้รับการ พัฒนายกระดับไปสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนากลไกที่สาคัญใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้างและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของ ประเทศ เพื่อยกระดับฐาน รายได้ของประชาชนในภาพรวมและกระจายผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้ อย่างเหมาะสม คน ไทยได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดีเก่ง มีวินัย คานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และมีศักยภาพในการคิด วิเคราะห์สามารถ “รู้รับ ปรับใช้” เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึง บริการพื้นฐาน ระบบสวัสดิการ และกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีใครถูกทิ้ง ไว้ข้างหลัง โดยมี ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังนี้ (ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2560-2579, 2561) 1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การรองรับสังคมสูง วัยอย่างมีคุณภาพ โดยเตรียมความพร้อมในทุกมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และ สภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการออมและการลงทุนระยะยาวของคนตั้งแต่ก่อนเกษียณอายุ พัฒนา ระบบและกลไกเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของประชากรให้สามารถปรับเปลี่ยนอาชีพให้เหมาะสม ตามแต่ละช่วงอายุ เพื่อยืดช่วงเวลาและเพิ่มโอกาสในการทางานในยามสูงอายุและสร้างหลักประกัน ทางรายได้ให้แก่ตนเองได้นานขึ้น ส่งเสริมและฟื้นฟูศักยภาพผู้สูงอายุให้มีกิจกรรมทาต่อเนื่องทั้งในเชิง เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ รวมทั้งคงไว้ซึ่งบทบาทในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม โดยส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจให้ทุกภาคส่วนมีการจ้างงานผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับวัยวุฒิ ประสบการณ์ และ สมรรถนะ ส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาและประสบการณ์เพื่อเพิ่มคุณค่าของผู้สูงอายุให้เป็น ประชากรที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเอง และทาประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง 2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ ช่วงวัยผู้สูงอายุส่งเสริม ให้ผู้สูงอายุเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ ส่งเสริมให้มีการทางานหลังเกษียณ ผ่านการเสริมทักษะ การดารงชีวิต ทักษะอาชีพในการหารายได้ มีงานทาที่เหมาะสมกับศักยภาพ มีการสร้างเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรคให้แก่ผู้สูงอายุ พร้อมกับจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และ หลักประกันทางสังคมที่สอดคล้องกับความจาเป็นพื้นฐานในการดารงชีวิต การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในสังคม (ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580), 2561) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีความสามารถและ ยังคงทางานได้แม้จะเกษียณอายุแล้ว ให้ทางานได้ต่อไป อีกทั้งให้มีการฝึกทักษะอาชีพสาหรับผู้สูงอายุ ที่มีความประสงค์จะทางาน เพื่อสร้างหลักประกันทางรายได้ให้กับผู้สูงอายุ และให้สามารถพึ่งพา ตนเองได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3