2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

29 2.6.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 2566 -2570 เป็นการจัดทา แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญ กับข้อจากัด หลากหลายประการที่เป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งไม่เพียงแต่ ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชากร แต่ยังส่งผลให้เกิดเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการ ดาเนินชีวิตของประชาชนทุกกลุ่ม นอกจากนี้ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ยังเป็นช่วงเวลาที่มี แนวโน้มของการพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความ รุนแรงเพิ่มขึ้น การเป็นสังคมสูงวัยของประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก ตลอดจนการ เปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ดังนั้นการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศท่ามกลาง กระแสแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงต้องให้ความสาคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งจาก ภายในให้สามารถเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคง ท่ามกลางความผันแปรที่เกิดขึ้นรอบด้าน และคานึงถึง ผลประโยชน์ของประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในการกาหนดทิศทาง ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ เพื่อให้ ประเทศไทยมี ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจ พอเพียง โดยหมุดหมายที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยมีดังนี้ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570, 2565) หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม กล่าวคือ ผู้สูงอายุยังขาดสวัสดิการทางสังคมที่จาเป็นต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยในปี 2563 มีผู้สูงอายุที่ตกอยู่ในความยากจนเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.30 ซึ่งผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้หรือ หลักประกันในรูปแบบอื่น รองรับ จะมีเพียงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 600 -1,000 บาท เพื่อใช้ สาหรับการดารงชีพ นอกจากนี้ ยังมีผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงอีกจานวนหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการดูแลที่ เหมาะสม โดยในเดือนมกราคม 2565 มีผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงซึ่งสามารถเข้าถึงบริการดูแลระยะ ยาวด้านสาธารณสุข ในระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติเพียงร้อยละ 54.20 ขณะที่สภาพแวดล้อม ในการอยู่อาศัยถือเป็นปัจจัยสาคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อสวัสดิภาพของผู้สูงอายุ หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน ใน ขณะเดียวกันบุคลากรภาครัฐยังคุ้นชินกับวิถีการทางานในรูปแบบเดิม ขาดทักษะด้านดิจิทัล และการ คิดสร้างสรรค์ ขาดการสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้บุคลากรภาครัฐพัฒนาตนเองให้ทันต่อบริบท ปัจจุบัน บุคลากรไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้ส่วนราชการ ไม่สามารถใช้ ประโยชน์จากกาลังคนได้เต็มศักยภาพ นอกจากนั้นกฎหมายไทยจานวนมากมีความล้าสมัย ไม่เอื้อต่อ การทางานและการปรับตัวของภาครัฐ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมถึงการอานวยความสะดวกแก่ ประชาชนและภาคเอกชน กระบวนการแก้ไข กฎหมายมีระยะเวลานานทาให้ไม่สามารถปรับปรุง กฎหมายให้รองรับการเปลี่ยนแปลงและขาดการนาเครื่องมือ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วยใน การแก้ไขปรับปรุง พัฒนากฎหมาย หรือยกเลิกกฎหมาย ขาดฐานข้อมูล ด้านกฎหมายของประเทศ เพื่อรองรับการเข้าถึงกระบวนการของกฎหมาย ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการกาหนดกฎหมาย ขาดความตระหนักถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและผลที่จะได้รับอย่างเคร่งครัด ส่งผลให้เกิดความไ ม่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3