2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

34 การใช้ดุลพินิจในการตัดจาหน่ายหนี้สูญรายละ ไม่เกิน 50,001-100,000 บาท และผู้อานวยการ สานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ในการใช้ดุลพินิจใน การตัดจาหน่ายหนี้สูญ รายละไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งนี้ การจะตัดจาหน่ายหนี้สูญ ของกองทุน ผู้สูงอายุได้จะต้องมีการดาเนินการติดตามทวงถามหนี้ให้ครบตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดเสียก่อนแล้ว จึง จะนาไปสู่การตัดจาหน่ายหนี้สูญของบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้ การจะตัดจาหน่ายหนี้สูญได้นั้น จะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุก่อน ดังนั้น ระเบียบฯ ฉบับนี้จึงเป็นช่องทางสาคัญที่จะช่วยลดภาวะหนี้สูญของกองทุนและยัง เป็นการช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ค้าประกันที่ภายหลังจากที่ได้กู้ยืมเงินกองทุนไปแล้วประสบปัญหา ต่าง ๆ จนไม่สามารถชาระหนี้ตามสัญญาได้ เช่น ไม่มีทรัพย์สินที่จะชาระหนี้ ถึงแก่กรรม พิการ ทุพพลภาพ วิกลจริต หรือถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไม่สามารถบังคับชาระหนี้ได้ มีการ ทวงหนี้กับลูกหนี้และผู้ค้าประกันตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในระเบียบฯ นี้แล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มี ทรัพย์สินใด ๆ ที่จะชาระหนี้หรือไม่สามารถติดต่อกับลูกหนี้ได้ 2.7.7 ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยการ พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการจัดทารายงาน สถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2552 ระเบียบฉบับนี้มีสาระสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพของผู้พิการ โดยได้ระบุถึงการให้สิทธิผู้พิการกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อประกอบอาชีพเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ พิการประกอบอาชีพ โดยระเบียบนี้ได้ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้ยืมเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพไว้ เช่น คุณสมบัติของผู้พิการ และในเรื่องระยะเวลากาหนดชาระเงินกองทุนคืน โดยเกี่ยวข้องกับ งานวิจัย ดังนี้ (ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยการ พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการจัดทารายงาน สถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2552, 2552) ข้อ 11 (1) การกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพเป็นรายบุคคลไม่เกินรายละสี่หมื่นบาท ให้ผ่อน ชาระภายในห้าปีโดยไม่มีดอกเบี้ย ดังนั้น กองทุนคนพิการและกองทุนผู้สูงอายุต่างมีเป้าหมายให้กู้ยืมเงินกองทุนไปประกอบ อาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองเหมือนกัน แต่กาหนดระยะเวลาการชาระเงินกู้ยืมคืนกองทุนที่ แตกต่างกัน โดยกองทุนผู้สูงอายุกาหนดให้คืนภายในระยะเวลา 3 ปี และกองทุนคนพิการกาหนดให้ คืนภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มากกว่า 2.8 กฎหมายต่างประเทศ ผู้วิจัยได้ทาการศึกษาขอบเขตกฎหมายว่าด้วยกองทุนการประกอบอาชีพผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบไป ด้วยประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อให้เห็นถึงการส่งเสริมหรือ สนับสนุนเกี่ยวข้องกับการจัดให้มีกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อให้ผู้สูงอายุนาไปใช้ในการประกอบอาชีพว่ามี ความเหมือนหรือความแตกต่างกัน กับประเทศไทยหรือไม่อย่างไร มีรายละเอียด ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3