2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
37 (i) ดาเนินกิจกรรมสร้างจิตสานึกในโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (ii) ดาเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพสาหรับผู้สูงอายุ (iii) ให้ความช่วยเหลือผู้ดาเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (iv) ทาการวิจัยและศึกษาโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและฝึกอบรมพนักงานใน โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (v) ดาเนินการตามที่กาหนดไว้ในวรรค (1) ของข้อต่อไปนี้ และ (vi) นอกเหนือจากที่กาหนดไว้ในแต่ละข้อก่อนหน้านี้ เพื่อดาเนินการที่จาเป็นสาหรับการ อานวยความสะดวกในความก้าวหน้าของโครงการส่งเสริมสุขภาพสาหรับผู้สูงอายุ ดังที่กล่าวมาแล้วว่า โดยกฎหมายทั้ง 3 ฉบับของประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้น ให้สร้างหลักประกันให้ผู้สูงอายุด้วยการสร้างงาน ส่งเสริมสวัสดิการด้านต่างๆ ด้วยการให้เงินอุดหนุน ให้ผู้สูงอายุที่ประสงค์จะประกอบอาชีพต่อไป กาหนดให้มีการฝึกอาชีพ เพื่อฝึกทักษะให้ผู้สูงอายุ รวมถึงสนับสนุนให้ได้รับโอกาสการจ้างงานแม้จะถึงวัยเกษียณแล้วเหมือนกับประเทศไทย ซึ่งประเทศ ญี่ปุ่นมีกองทุนและเงินสนับสนุนในรูปแบบของสวัสดิการผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เป็นลักษณะการ ช่วยเหลือผู้สูงอายุแบบให้เปล่า แต่ไม่ปรากฏว่าประเทศญี่ปุ่นจัดให้มีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อให้ผู้สูงอายุ นาไปประกอบอาชีพแต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่มีกองทุนเงินกู้ยืม เพื่อเป็นทางเลือก ให้กับผู้สูงอายุ ที่มีทักษะและความสามารถเฉพาะของตนเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัว 2.8.2 สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์มีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่ม จานวนถึงหนึ่งในสี่ ของจานวนประชากรใน ค.ศ. 2030 ประกอบกับการลดลงของอัตราการเกิดของ ประชากรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลอย่างมีนัยสาคัญต่อโครงสร้างประชากรในประเทศ รัฐบาลสิงคโปร์ได้ ตระหนักถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว จึงได้กาหนดนโยบาย รวมทั้งการแก้ไขกฎหมาย หลายฉบับที่รองรับสังคมผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องการจ้างงาน คุณภาพชีวิต และการดูแลผู้สูงอายุใน อนาคต รวมทั้งการกาหนดมาตรการและกลไกที่น่าสนใจไว้รอบด้าน ทั้งในเรื่องการจัดตั้งกองทุน การ ออม และมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุทั้งในระยะสั้น ระยะยาว รวมทั้งการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน จาก สถานการณ์สังคมสูงอายุดังกล่าว รัฐบาลสิงคโปร์ได้วางแนวนโยบายขั้นพื้นฐานของรัฐ เพื่อรองรับ สังคมสูงอายุไว้ มุ่งเน้นการส่งเสริมการจ้างงาน และการเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน ด้วยการเพิ่ม ทักษะและจัดหางานให้เหมาะสมกับแรงงานสูงอายุ รัฐส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาว และที่สาคัญ รัฐสิงคโปร์ ให้ความสาคัญกับการพึ่งพาตนเอง (Self-reliance) ด้วยการวางแผนล่วงหน้า เกี่ยวกับ การจัดตั้งระบบกองทุนสารองเลี้ยงชีพกลาง Central Provident Fund (CPF) เพื่อบังคับลูกจ้าง สะสมเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ เพื่อเป็นหลักประกันยามเกษียณ ส่งเสริมการออมให้แก่ประชาชนชาว สิงคโปร์ (เกษรา ชัยเหลืองอุไร, 2557) สาธารณรัฐสิงคโปร์ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกองทุน แต่ มุ่งเน้นไปที่กองทุนสารองเลี้ยงชีพเป็นหลักเพื่อให้เป็นหลักประกันกับผู้สูงอายุไว้หลากหลาย ดังนี้ (iv)conduct research and study on health promotion projects for the elderly, and training of the employees engaged in health promotion projects for the elderly; (v)perform the operations set forth in paragraph (1) of the following Article; and (vi)beyond what is set forth in each of the preceding items, to perform the operations necessary for facilitating the advancement of health promotion projects for the elderly
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3