2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

40 ประกันสังคมจะได้เงินบานาญเมื่อเกษียณอายุ และการได้รับเงินบานาญไม่ได้มีแค่ผู้สูงอายุที่ทางาน ราชการ ผู้สูงอายุอาชีพอื่นๆก็มีตัวเลือกในการสบทบเงินประกันสังคมเพื่อสวัสดิการในอนาคตได้ โดย เข้าระบบการประกันบานาญแบบสมัครใจและประกันบานาญกับบริษัทเอกชน (Federal Ministry of Labour and Social Affairs, 2023) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีเงินบานาญในภาคบังคับภายใต้ หลักประกันสังคม เป็นแผนเงินบานาญสาธารณะของเยอรมัน และถึงจะไม่ได้เป็นผู้ประกันตนภาค บังคับในเงินบานาญสาธารณะ ก็สามารถจ่ายเงินสมทบโดยสมัครใจได้ เงินบานาญนั้นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่เมื่อจ่ายเงินเข้าสู่ระบบประกันบานาญตามกฎหมายและรายได้ของผู้ประกันตนสูงขึ้น (Pensionfriend, 2022) อย่างไรก็ดี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีรูปแบบของสวัสดิการ เรียกว่าเป็นการบังคับออม ทางอ้อมก็ได้ เพราะสวัสดิการที่ใช้มาบริการสังคมนั้นมาจากภาษีประชาชน จะนาไปส่งต่อให้กองทุน เพื่อเข้าระบบสวัสดิการ สาหรับผู้ที่เสียภาษีมากย่อมได้รับสวัสดิการที่ดี หรือผลตอบแทนมากตามที่ เสียไป มีข้อสังเกตว่า รัฐจัดให้มีสวัสดิการ 4 แบบด้วยกัน คือ 1.ระบบประกันสังคม 2. ระบบประกัน สุขภาพของรัฐ 3.ประกันบานาญของรัฐ 4. การช่วยเหลือทางสังคมของรัฐบาล ผู้ที่เสียภาษีจะได้ บริการทั้ง 4 ประการนี้ ตามการจ่ายภาษีที่สะสมไว้ในกองทุน ชาวเยอรมันจะได้รับการคุ้มครองภายใต้ ระบบประกันสังคมเกือบร้อยละ 90 จึงสามารถเรียกได้ว่าเป็น ‘รัฐสวัสดิการ (Welfare State)’ สิทธิ ประโยชน์หลักๆ จะได้แก่ การประกันสุขภาพ รวมถึงค่าใช่จ่ายในการคลอดบุตร การประกันบานาญ เมื่ออายุ 67 ปี (Young Matter, 2021) ดังที่กล่าวมาแล้วว่า กฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้มุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุได้ ทางานต่อไปโดยเพิ่มระยะเวลาเกษียณเหมือนกับประเทศสิงคโปร์ โดยให้ผู้สูงอายุสามารถทางานและ มีรายได้ในการดารงชีวิตต่อไปได้ อีกทั้งได้รับเงินบานาญเป็นประกันภาคบังคับ และมีสวัสดิการให้กับ ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังมีกองทุนต่าง ๆ ที่มาจากภาษีประชาชน โดยรัฐจะนาเงินภาษีนั้นมาเข้า กองทุนเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ต่อไปในหลาย ๆ ด้าน รัฐเยอรมนีเป็นประเทศที่วางแผน เพื่อให้ประชาชนภายในประเทศใช้ชีวิตในบั้นปลายให้มีเงินและสวัสดิการที่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฎว่ามีการจัดตั้งกองทุนให้ผู้สูงอายุกู้ยืมเงินหมือนกับประเทศไทยแต่อย่างใด กล่าวโดยสรุปว่า จากการศึกษากฎหมายกองทุนการกู้ยืมเงินประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ ของประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทั้ง 3 ประเทศ ต่างมุ่งเน้นเพื่อ ส่งเสริมหรือสนับสนุนด้านสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุ ที่มีความแตกต่างกันไปแต่ละประเทศ แต่ไม่ ปรากฎว่าทั้งสามประเทศดังกล่าวนี้ ให้การสนับสนุนเกี่ยวข้องกับการจัดให้มีกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อให้ ผู้สูงอายุนาไปใช้ในการประกอบอาชีพแต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่จัดตั้งกองทุนเงินกู้ยืม สาหรับผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ประกอบประกาศคณะกรรมการบริหาร กองทุนผู้สูงอายุ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่ให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ พ.ศ.2549 จากการศึกษากฎหมายทั้งสามประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นถึงกฎหมายแต่ละประเทศที่มี สวัสดิการต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปตามบริบทของกฎหมายแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3