2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์
41 2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จิรภรณ์ ชัยก๋า ศึกษาวิจัยเรื่อง การดาเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของศูนย์พัฒนา คุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุจังหวัดลาพูน พบว่า การจัดสวัสดิการทางสังคมที่รัฐจัดให้ ผู้สูงอายุด้านต่าง ๆ ที่ผ่านมานั้นแม้ว่าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดาเนินการแต่การดาเนินงานจัด สวัสดิการสังคมยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้สูงอายุรวมทั้งยังไม่สามารถตอบสนองกับปัญหา ต่าง ๆ ของผู้อายุได้อย่างแท้จริง โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงด้านต่าง ๆ ในการจัดบริการสวัสดิการแก่ ผู้สูงอายุที่ถูกกาหนดขึ้นในลักษณะบรรเทาปัญหาหรือชะลอปัญหาไปชั่วระยะเวลาหนึ่งซึ่งไม่ สอดคล้องกับการแก้ปัญหาในระยะยาวนอกจากนั้นผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถไปใช้บริการได้ เนื่องจากมีความยากลาบากในการเดินทาง ไปรับบริการจึงทาให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง มีผลกระทบต่อการพัฒนาและการดารงชีวิต รูปแบบการจัดการด้านที่อยู่อาศัยไม่สอดคล้องกับวิถีการ ดาเนินชีวิตของผู้สูงอายุ อีกทั้งการจัดบริการสวัสดิการสังคมคงมีลักษณะเป็นรูปแบบเดียวทั่วประเทศ ขาดความสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดการมีส่วนร่วม ของผู้สูงอายุในการชี้แนะปัญหาความต้องการ นอกจากผู้สูงอายุยังไม่มีส่วนร่วมในศูนย์บริการมาก เท่าที่ควร ข้อจากัดในการดาเนินงานข้างต้นส่งผลให้การบริการไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ผู้สูงอายุให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และสาหรับผู้สูงอายุในชุมชนที่ขาดผู้ดูแล แม้ว่ามีความ พยายามปฏิรูประบบราชการการถ่ายโอนงานสวัสดิการสังคมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งบาง พื้นที่ยังไม่พร้อมในการบริหารจัดการ เจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการ จัดสวัสดิการจึงทาให้ผู้สูงอายุขาดการดูแลอย่างเหมาะสม การขาดความรู้ด้ านสิทธิต่าง ๆ ของ ผู้สูงอายุการไม่ทราบถึงสิทธิต่าง ๆ ที่พึงได้รับ เงื่อนไขวิธีการเข้ารับบริการ รวมถึงกฎระเบียบของ หน่วยงานภาครัฐที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการรับบริการสิ่งเหล่านี้ยังเป็นปัญหา ที่ทาให้ผู้สูงอายุ จานวนมากไม่สามารถเข้าถึงการบริการ ปัญหาของผู้สูงอายุและการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุที่กล่าว มาข้างต้นยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยระบบสวัสดิการและการดูแลผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นภายใต้การ ดาเนินงานของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่พบว่าเป็นการบริการ ที่ท้องถิ่น จัดให้แต่ยังไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ ซึ่งการจัดสวัสดิการ ต่าง ๆ ของศูนย์ที่ให้ความช่วยเหลือตามความจาเป็นขั้นพื้นฐานสาหรับกลุ่มผู้สูงอายุยากจน ด้อย โอกาสและขาดที่พึ่ง ยังไม่เพียงพอและทั่วถึง ผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดทาขึ้น เนื่องจาก ไม่ได้รับข่าวสารหรือไม่สะดวกในการเดินทางไปเข้าร่วม เลยทาให้ไม่ได้รับสิทธิดังที่กล่าวมา จึงควร พัฒนาระบบสวัสดิการและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสาหรับผู้สูงอายุโดยมุ่งพัฒนาระบบสวัสดิการที่ เน้นให้ทุกภาคส่วนมีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน ไร้ที่พึ่งและกลุ่ม ที่ต้องการความช่วยเหลือ (จิรภรณ์ ชัยก๋า, 2563) ณิชานันท์ ไชโย ได้ศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาการเข้าถึงบริการกองทุนผู้สูงอายุ พบว่า ประเทศไทยมีการจัดบริการสวัสดิการผู้สูงอายุขึ้นมา แต่บริการเหล่านั้นยังไม่เพียงพอและไม่ ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ได้กาหนดกรอบสิทธิให้บริการ ต่าง ๆ ให้มีการมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ดาเนินการตามกฎหมาย เพื่อจัดบริการให้กับผู้สูงอายุ ตามหลักการของกฎหมาย เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ และมีการจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุ ขึ้นมาเพื่อจัดบริการในด้านการส่งเสริมการสนับสนุนและคุ้มครอง กิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ จึงเป็นอีก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3