2566-2 ปวริศา ผลกล้า-วิทยานิพนธ์

42 ช่องทางสาหรับให้องค์กรที่ดาเนินงานด้านผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการได้ เพื่อนาเงินทุนไปใช้ในการ จัดกิจกรรมหรือดาเนินกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ ตามลักษณะกิจกรรมที่ผู้สูงอายุต้องการให้เกิดขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุแต่ละพื้นที่มีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นหากผู้สูงอายุสามารถเข้าถึง บริการกองทุนผู้สูงอายุ จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและอย่างสมศักดิ์ศรี ผลการศึกษาพบว่า กองทุนผู้สูงอายุใช้ระยะเวลาพิจารณาโรงการนานและมีความล่าช้าในการได้รับการสนับสนุนโครงการ เนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระเบียบ เงื่อนไข และพบว่าการประชาสัมพันธ์ข่าวสารกองทุน ผู้สูงอายุยังไม่ทั่วถึงซึ่งเป็นปัญหาอย่างมาก จึงควรปรับลดขั้นตอนการขอรับเงินและให้มีการ ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (ณิชานันท์ ไชโย, 2552) อัจฉริยา ทวาโรจน์ ได้ศึกษาเรื่องแนวทางการส่งเสริมการได้รับสนับสนุนทางการเงินจากกองทุน ผู้สูงอายุ พบว่า พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 13 ที่ได้กาหนดให้มีการจัดตั้งกองทุน ผู้สูงอายุนั้น การขับเคลื่อนกองทุนผู้สูงอายุให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หากไม่มีแนวทางส่งเสริม การได้รับสนับสนุนเงินจากกองทุนผู้สูงอายุที่ชัดเจน อาจส่งผลให้การดาเนินงานไม่ประสบผลสาเร็จ เท่าที่ควร ซึ่งจากการดาเนินงานที่ผ่านมา หน่วยงานที่ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนผู้สูงอายุ มี โครงการร้อยละ 40 เท่านั้นที่ผ่านการอนุมัติ จึงได้เกิดความสนใจที่จะศึกษาแนวทางการส่งเสริมการ ได้รับสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคใน การขอรับการสนับสนุนดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีปัญหาและอุปสรรค ในเรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก อีกทั้งมี ปัญหาในเรื่องขาดความรู้ในการเขียนโครงการทาให้โครงการไม่ได้รับการพิจารณา โดยให้ ข้อเสนอแนะว่าควรมีเจ้าหน้าที่ให้ทาอธิบายในการเขียนโครงการให้เข้าใจและมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี มากกว่านี้ โดยดาเนินการอย่างต่อเนื่อง และมุ่งเน้นให้ผู้ขอรับเงินกองทุนผู้สูงอายุเข้าใจเกี่ยวกับ เงื่อนไข ระเบียบ หลักเกณฑ์ กระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงการใช้ ประโยชน์จากกองทุนผู้สูงอายุ (อัจฉริยา ทวาโรจน์, 2551) ดังนั้น จากงานวิจัยที่กล่าวมา 3 เรื่องนั้นเป็นการศึกษาถึงการดาเนินงานพัฒนาคุณภ าพชีวิต ผู้สูงอายุของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุจังหวัดลาพูน แนวทางการพัฒนาการ เข้าถึงบริการกองทุนผู้สูงอายุ แนวทางการส่งเสริมการได้รับสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ แต่ไม่ได้ศึกษาถึงการให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ในการประกอบอาชีพโดยกู้ยืมเงินจากกองทุน ผู้สูงอายุ ดังนั้นวรรณกรรมที่ทบทวนในบทนี้ ผู้วิจัยนาไปใช้เป็นข้อมูลเอกสารเพื่อประกอบการ วิเคราะห์ตามประเด็นที่กาหนดไว้ต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3